ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: อุณารัตน์ พิบูลภักดี, ช่อมณฑา เคารพาพงค์

ชื่อเรื่อง/Title: โครงการคลายเครียดและกระตุ้นภาวะผู้นำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ครั้งที่ 5 , พ.ศ. 2542

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีความรู้เรื่องสุขภาพจิตเบื้องต้น ความเครียด เทคนิคการคลายเครียด และภาวะการเป็นผู้นำ 2. เพื่อลดความเครียดในการทำงานของเจ้าหน้าที่ 3. เพื่อกระตุ้นให้เกิดการปรับแนวคิด และแนวทางในการแก้ไขปัญหาของเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปในแนวทางที่เหมาะสม 4. เพื่อลดความขัดแย้งในการทำงานและการประสานงาน 5. เพื่อกระตุ้นให้เกิดความเป็นผู้นำในการทำงาน 6. เพื่อสนับสนุนงานโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพจิตตามแนวนโยบายในกิจกรรมเพื่อการส่งเสริมสุขภาพสำหรับบุคลากรทั้งด้านร่างกายและจิตใจ 7. เพื่อให้บุคลากรมีพฤติกรรมสุขภาพที่เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชนทั่วไป วิธีการ โดยการบรรยาย สาธิตและฝึกปฏิบัติ และการประชุมกลุ่มย่อยมีกิจกรรมสันทนาการในบางช่วง ผลที่ได้ 1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมที่คะแนนเฉลี่ย 5.50 และมีความรู้ที่ไม่แตกต่างกัน 2. ผู้เข้ารับการอบรมมีความเครียดอยู่ในเกณฑ์ปกติก่อนการอบรมร้อยละ 75 และหลังการอบรมร้อยละ 95 3. ผู้เข้ารับการอบรมมีภาวะการเป็นผู้นำในระดับมาก ร้อยละ 93.33 4. ผู้เข้ารับการอบรมต้องการให้มีการจัดโครงการต่อเนื่อง ร้อยละ 83.33 โดยส่วนมากต้องการให้จัดทุก 6 เดือน 5. ผู้เข้ารับการอบรมได้นำวิธีคลายเครียดไปใช้ในชีวิตประจำวันร้อยละ 100 สรุป จากการดำเนินโครงการดังกล่าวคิดว่า มีส่วนช่วยในการลดความเครียดของบุคลากร และทำให้บุคลากรมีการกระตุ้นตนเองในภาวะการเป็นผู้นำมากขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงในความกระตือรือร้น พฤติกรรมกล้าแสดงออก การยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกันเจตคติต่อการปฏิบัติงานในทางที่ดีขึ้น และบุคลากรมีภาวะสุขภาพจิตดีขึ้น ข้อเสนอแนะ สรุป จากการดำเนินโครงการดังกล่าวคิดว่า มีส่วนช่วยในการลดความเครียดของบุคลากร และทำให้บุคลากรมีการกระตุ้นตนเองในภาวะการเป็นผู้นำมากขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงในความกระตือรือร้น พฤติกรรมกล้าแสดงออก การยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกันเจตคติต่อการปฏิบัติงานในทางที่ดีขึ้น และบุคลากรมีภาวะสุขภาพจิตดีขึ้น ข้อเสนอแนะ 1. ควรเพิ่มจำนวนรุ่นการอบรม ตั้งแต่ 2 รุ่นขึ้นไป เพื่อให้ผู้สนใจได้เข้ารับการอบรมหมดและครบหลักสูตร และสามารถนำไปสรุปผลในภาพรวมของหน่วยงานได้ชัดเจนขึ้น 2. เพิ่มเวลาที่ใช้ในการอบรมให้เป็น 2 วันทั้งภาคเช้าและภาคบ่าย 3. หางบสนับสนุนเพิ่มเติม

Keywords: เครียด, ความเครียด, stress

ปีที่เผยแพร่/Year: 2542

Address: โรงพยาบาลเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร

Code: 201420005210

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -