ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: โรงพยาบาลอากาศอำนวย

ชื่อเรื่อง/Title: โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตสตรี วัยก่อนและหลังหมดระดูในเชิงรุก

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ครั้งที่ 6 วันที่ 6-8 กันยายน 2543

รายละเอียด / Details:

สตรีวัยก่อนและหลังหมดระดูหรือวัยทอง เป็นวัยที่มีการเสื่อมของรังไข่และรังไข่หยุดทำงาน จึงทำให้หมดประจำเดือนการเปลี่ยนแปลงของระบบสรีรวิทยาของร่างกายที่เป็นไปตามธรรมชาติ ทำให้ระดับฮอร์โมนเเอสโตรเจนลดลง ซึ่งส่งผลกระทบต่ออวัยวะในระบบต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ทำให้เกิดความผิดปกติทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตได้ เพื่อให้การดูแลครอบคลุมกลุ่มสตรีวัยทองทุกกลุ่ม โรงพยาบาลอากาศอำนวยจึงได้ดำเนินการในเชิงรุก โดยการออกให้ความรู้แก่สตรีวัยทองตามคุ้มวัดต่าง ๆ ภายในเขตตำบลอากาศ รวม 7 วัด โดยให้ความรู้ร่วมกับการทำกิจกรรมสันทนาการ และออกกำลังกาย การที่สตรีวัยทองได้ร่วมโครงการดังกล่าว จะทำให้สตรีวัยทองมีแนวคิดทัศนคติที่ดี มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสมและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมสุขภาพและลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นในช่วงอายุที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจแก่สตรีวัยก่อนและหลังหมดระดู และในรายที่มีอาการผิดปกติ ได้รับการรักษาที่เหมาะสม 2. เพื่อกระตุ้นให้เกิดการปรับแนวคิด และแนวทางในการแก้ไขปัญหาสุขภาพในทางที่เหมาะสม วิธีดำเนินการ เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ และดำเนินการประชุมชี้แจงโครงการต่อทีมงานและกลุ่มผู้นำชุมชนและชี้แจงขั้นตอนการดำเนินการกำหนดแผนการออกให้บริการ และสร้างหลักสูตรในการให้ความรู้ แบบประเมินความเครียด และแบบประเมินภาวะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ดำเนินงานตามแผนงาน ประเมินผลหลังสิ้นสุดโครงการ สรุปอภิปรายผล จากการดำเนินงานโครงการในเชิงรุกพบว่า 1. สตรีวัยทองให้ความสนใจเรื่องสุขภาพจของตนเองมากขึ้น มีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 697 คนจากทั้งหมด 1,961 คน คิดเป็น ร้อยละ 35.54 รับการตรวจสุขภาพ จำนวน 22 รายคิดเป็นร้อยละ 0.14 พบว่ามีผู้ใช้ฮอร์โมนทดแทนจำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.09 ไม่ใช้ฮอร์โมนทดแทนจำนวน 20 ราย คิดเป็นร้อย 90.91 พบความผิดปกติของเต้านมจากการคลำ 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.55 ได้ส่งต่อผู้ป่วยไปโรงพยาบาลสกลนคร เพื่อทำ mammogram ผลการตรวจปกติ ไม่พบความผิดปกติของการตรวจเต้านมโดยการคลำ 21 ราย คิดเป็นร้อยละ 95.45 มีการทำกิจกรรมร่วมกัน รู้จักวิธีคลายเครียดทำให้สุขภาพจิตดีขึ้นจากการประเมินความเครียดด้วยตนเอง - ความเครียดระดับปกติ ก่อนดำเนินการร้อยละ 92.27 หลังดำเนินการ ร้อยละ 95.2 - ความเครียดระดับสูงกว่าปกติเล็กน้อย ก่อนดำเนินการร้อยละ 3.09 หลังดำเนินการร้อยละ 1.7 - ความเครียดระดับสูงกว่าปกติปานกลาง ก่อนดำเนินการร้อยละ 2.32 หลังดำเนินการ ร้อยละ 1.9 - ความเครียดระดับสูงกว่าปกติมาก ก่อนดำเนินการร้อยละ 2.32 หลังดำเนินการ ร้อยละ 1.2 ข้อเสนอแนะ 1. เพื่อให้การดูแลครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ต้องให้ชุมชนเห็นความสำคัญมีกลุ่มแกนนำและจัดตั้งกลุ่มวัยทอง ขยายผล โดยชุมชนเอ ง เจ้าหน้าที่ให้การสนับสนุนในเรื่องวิชาการ 2. การดำเนินโครงการพบว่ามีจำนวนผู้มาขอรับบริการตรวจสุขภาพในโรงพยาบาลยังน้อย ควรมีการประชาสัมพันธ์เพิ่มมากขึ้น โดยใช้เอกสารแผ่นพับ และหอกระจายข่าวในหมู่บ้าน โดย อสม.ในแต่ละหมู่บ้านดำเนินการ สรุปและข้อเสนอแนะ องค์ความรู้ที่ได้รับในครั้งนี้ทำให้เกิดแนวความคิดในการวางแผนแก้ไขปัญหาและป้องกันปัญหาร่วมกับครอบครัวและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ในการติดตามดูแลผู้ป่วยให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในชุมชนได้ตามปกติและนำ Case ผู้ป่วยที่ประสบความสำเร็จไปประยุกต์กับผู้ป่วยรายอื่น ๆ ให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาและพื้นที่ต่อไป ข้อเสนอแนะกรณีผู้ป่วยถูกล่ามขังเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเมื่ออาการทางจิตสงบให้ผู้ป่วย Home visit จนกว่าญาติจะพอใจ เพื่อให้ญาติเกิดความมั่นใจว่ากลับไปแล้วผู้ป่วยจะอยู่ในบ้านได้ไม่ถูกล่ามขังอีก กรณีผู้ป่วยมีพฤติกรรมรุนแรงนั้น ครอบครัวควรสังเกตอาการผิดปกติของผู้ป่วย และรีบนำผู้ป่วยถูกกล่าวหาว่าเป็นผีปอบในชุมชน ควรหาแกนนำในชุมชนซึ่งเป็นผู้อาวุโสที่ชุมชนให้ความนับถือยกย่อง และพระภิกษุมาช่วยพูดคุยทำความเข้าใจให้ชุมชนยอมรับในเรื่องผีปอบ และผู้ถูกกล่าวหาควรปฏิบัติตนตามปกติไม่มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง เก็บตัวไม่พบปะพูดคุยกับผู้อื่น จะทำให้เหตุการณ์แย่กว่าเดิมได้

Keywords: สุขภาพจิต, สตรีวัยหมดประจำเดือน, menopause, mental health

ปีที่เผยแพร่/Year: 2543

Address: โรงพยาบาลอากาศอำนวย อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร

Code: 201430006229

ISSN/ISBN: 974-293-644-7

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -