ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: บุญศิริ จนศิริมงคล

ชื่อเรื่อง/Title: กรณีศึกษาเรื่องการประเมินผู้กระทำผิดและผลกระทบต่อผู้สูญเสียเหตุการณ์นักเรียนยิงกันตาย วันที่ 6 มิถุนายน 2546 อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 2 สุขภาพจิตกับยาเสพติด ปี 2546. หน้า 179. (วันที่ 19-21 สิงหาคม 2546 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพมหานคร)

รายละเอียด / Details:

ปัญหาสำคัญ นักเรียนชายวัย 17 ปี มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนปากพนัง มีปัญหากับเพื่อน โดยโดนเพื่อนนักเรียนระดับเดียวกันกระโดดถีบ แต่ไปถูกเพื่อน ต่อมาวันที่ 6 มิถุนายน 2546 ได้ใช้ อาวุธปืนยิงถูกคู่อริบาดเจ็บ และผู้ไม่เกี่ยวข้องเสียชีวิต 2 ราย การปฏิบัติงาน ทีมจิตเวช ประกอบด้วย จิตแพทย์ จิตแพทย์เด็ก พยาบาลวิชาชีพ นักสังคมสงเคราะห์ และนักจิตวิทยา ได้ปฏิบัติงาน ณ โรงเรียนปากพนัง วิธีการปฏิบัติงานดังนี้คือ 1. พบผู้กระทำและครอบครัว 2. ครอบครัวผู้เสียชีวิต 3. เด็กที่เห็นเหตุการณ์ 4. คณะครูของโรงเรียนปากพนัง 1) พบผู้กระทำผิดตัวเด็กและครอบครัว ได้ทำการประเมินผู้กระทำผิดและครอบครัว เพื่อหาสาเหตุและแรงจูงใจ พบว่า ผู้กระทำผิดมีประวัติคลอดแล้วมีภาระแทรกซ้อน ต้วเหลืองซีด อาการรุนแรง จนต้องผ่าตัด และมีพัฒนาการด้านการพูด การเคลื่อนไหวช้ากว่าเด็กปกติ วัยเด็กเป็นวัยที่ไม่อยู่นิ่ง เดินไม่หยุด ไม่สนใจการเรียน จากการประมินเบื้องต้น พบว่า เด็กมีปัญหา - ปัญหาพฤติกรรมเกเร ก้าวร้าว ขาดทักษะในการแก้ปัญหาและการควบคุมอารมณ์ ซึ่งส่งผลการใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาบางครั้ง (conduct disorders) - ปัญหาการเรียน (Learning disabilities) 2) ครอบครัวผู้เสียชีวิต พบว่ามีความเศร้าโศกเสียใจ จากการทำใจยอมรับการตายไม่ได้ มีความรู้สึกโกรธ และอยากแก้แค้น ทางทีมงานได้ให้ระบายความรู้สึก หาทางระบายความเครียดที่เหมาะสม ทำให้กำลังใจ และแนะนำการขอความช่วยเหลือ ทางใจกับหน่วยงานสาธารณสุขได้แก่ โรงพยาบาลปากพนัง โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช และบริการ Hot Lone ของโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ 3) เด็กที่เห็นเหตุการณ์และสูญเสียเพื่อนร่วมชั้นกับเหตุการณ์ ได้ประเมินภาวะความเครียด โดยใช้หลักการพูดคุย พบว่าเด็กส่วนใหญ่ไม่สามารถพูดออกมาถึงเหตุการณ์ได้มากนัก เมื่อใช้แบบประเมินความเครียด (thai stress test) ที่พัฒนาโดย รศ ดร.สุธีรา ภัทรายุตวรรต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โดยอ้างอิงจากหนังสือคู่มือการวัดทางจิตวิทยา แล้วพบว่า นักเรียนในห้องมากกว่าครึ่งยังมีความเครียดซึ่งเป็นผลจากเหตุการณ์ครั้งนี้ (ประมาณ 68 %) โดยพบว่านักเรียนที่มีอาการวิตกกังวลในระดับปานกลางมาก 1 คน และมีนักเรียนที่รู้สึกโกรธแค้นกับผู้กระทำผิดอย่างรุนแรง 4) คณะครูของโรงเรียนปากพนัง ทางทีมงานได้พูดคุยและเสนอแนวทางการช่วยเหลือกับครูประจำชั้น โดย 1. ให้อาจารย์ประจำชั้นดูแลนักเรียนในชั้น โดยเฉพาะกลุ่มที่เครียด และมีความรู้สึกโกรธรุนแรง โดยให้นักเรียนพูดคุยระบายความรู้สึกออกมา โดยอาจพิจารณาการทำกลุ่ม 2. ตั้งนักเรียนเพื่อให้คลายความรู้สึกไม่สบายใจและช่วยกันชี้แนวทางแก้ไข มีการตั้งนักเรียนที่เป็นแกนนำในการดูแลกัน (เพื่อนช่วยเพื่อน) หลังจากนั้นให้อาจารย์ประจำชั้นประเมินความเครียดในกลุ่มเสี่ยงอีกครั้ง เมื่อเวลาผ่านไป 1 เดือน นอกจากนี้ทางทีมงานได้เสนอช่องทางติดต่อกับทีมงาน เขียนคำปรึกษา โดยผ่านศูนย์วิกฤตสุขภาพจิต Hotline และทีมงานโดยตรง ร่วมเสนอแนวทางการป้องกันความรุนแรงในโรงเรียน นอกเหนือจากการช่วยเหลือในจังหวัดนครศรีธรรมราช เช่น โรงพยาบาลปากพนัง โรงพยาบาลมหาราช และเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นอีก

Keywords: นักเรียนยิงกันตาย, ก้าวร้าว, พฤติกรรมรุนแรง, ปัญหาทางจิตเวช, สุขภาพจิต, จิตวิทยา, นักเรียน, โรงเรียนปากพนัง, conduct disorder, learning disability

ปีที่เผยแพร่/Year: 2546

Address: โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ กรมสุขภาพจิต

Code: 00000091

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -