ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: เพ็ญศิริ สมใจ, จุรัญ อึ้งสำราญ, วัชนี หัตถพนม, อัชรา ฦาชา

ชื่อเรื่อง/Title: การประเมินผลการอบรมหลักสูตรคลายเครียดแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเขต 6

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ครั้งที่ 6 วันที่ 6-8 กันยายน 2543

รายละเอียด / Details:

เพื่อประเมินผลการจัดอบรมหลักสูตรคลายเครียดแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเขต 6 เพื่อสำรวจความเครียด สาเหตุของความเครียด และวิธีการแก้ปัญหาของผู้เข้ารับการอบรมเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 250 คน ในการอบรมแต่ละครั้งได้ทำการประเมินผลก่อนและหลังการอบรม โดยแบบสอบถามส่วนใหญ่นำมาจากกรมสุขภาพจิต โดยเป็นแบบสอบถามที่ประกอบการสอนในหลักสูตรคลายเครียด มีแบบสอบถามเฉพาะข้อมูลทั่วไปที่จัดทำขึ้นเอง จากการดำเนินการมีผู้ส่งข้อมูลกลับคืนมา 210 คน คิดเป็นร้อยละ 84 ของผู้เข้ารับการอบรมทั้งหมด จากนั้นนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ โปรแกรม SPSS/PC โดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Chisquare ผลที่ได้ ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 81.0 มีอายุในช่วง 21-40 ปีร้อยละ 88.6 สถานภาพสมรสคู่ร้อยละ 62.9 จบการศึกษาระดับอนุปริญญา ร้อยละ 53.8 จากการสำรวจความเครียดของผู้เข้ารับการอบรมพบว่า ร้อยละ 79 มีระดับความเครียดอยู่ในเกณฑ์ปกติ รองลงมาคือร้อยละ 15.2 สูงกว่าปกติเล็กน้อย สาเหตุของความเครียดเป็นครั้งคราว 5 ลำดับแรก ได้แก่ เกิดจากตัวเอง การทำงาน การเรียน การเงิน สิ่งแวดล้อมและสังคม วิธีการแก้ปัญหาเป็นครั้งคราวของผู้เข้ารับการอบรม 5 อันดับแรก ได้แก่ขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น ยอมรับว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากตนเอง แสดงอารมณ์โต้ตอบทันทีเมื่อมีปัญหา ดำเนินชีวิตต่อไปตามปกติเหมือนว่าไม่มีปัญหาเกิดขึ้น โทษว่าเป็นความผิดของผู้อื่นสำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ปัจจัยในด้านอายุ (P=0.002) ระดับการศึกษา (P=0.02) การประเมินผลโครงการในภาพรวม พบว่า หลังการอบรมมีความรู้ในหัวข้อต่าง ๆ เพิ่มขึ้นทุกหัวข้อ วิธีการคลายเครียดที่เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด คือ 1.การนวด 2.การทำสมาธิ สำหรับอันดับ 3 มี 2 วิธี คือ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และฝึกการหายใจและคิดว่าจะนำวิธีการคลายเครียดไปปฏิบัติและจัดตั้งคลินิก ในด้านวิทยากรจากการศึกษาพบว่า เหมาะสมมาก และเหมาะสมมากที่สุด ร้อยละ 90 สรุปและข้อเสนอแนะควรมีการประเมินผลเช่นนี้ในการอบรมเทคโนโลยีต่าง ๆ ของกรมสุขภาพจิตเพื่อเป็นการประเมินผลหลักสูตรวิทยากร ซึ่งจะได้นำมาปรับปรุงในการสอนปีต่อ ๆ ไป

Keywords: เครียด, ความเครียด, stress

ปีที่เผยแพร่/Year: 2543

Address: โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 201430006286

ISSN/ISBN: 974-293-644-7

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -