ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: นพพร นพเจริญกุล

ชื่อเรื่อง/Title: ปัจจัยทางสังคมจิตใจของผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นมารับบริการที่โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ ปี 2540

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ครั้งที่ 6 วันที่ 6-8 กันยายน 2543

รายละเอียด / Details:

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบปัจจัยทางสังคมจิตใจของเด็กและวัยรุ่นและผลการศึกษามาวางแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพจิตของเด็กและวัยรุ่น โดยการศึกษาข้อมูลของผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 18 ปี จากรายงานคนไข้ของโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ จำนวน 596 คน ในปีงบประมาณ 2540 สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ใช้การแจกแจงความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และอัตราส่วน ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นอายุระหว่าง 7 เดือน ถึง 18 ปี มีจำนวน 596 คน ปัญญาอ่อนและสมาธิสั้น รวมเป็นร้อยละ 67.44 ปัจจัยทางสังคม จิตใจมีผลต่อพัฒนาการเจริญเติบโตทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และพฤติกรรม คือพบว่าขณะที่แม่ตั้งครรภ์ มีปัญหาด้านสุขภาพร่างกาย เช่น โรคประจำตัว ครรภ์เป็นพิษ หัดเยอรมัน ตกเลือด และปัญหาสุขภาพจิต เช่น ความเครียด วิตกกังวลและอารมณ์ซึมเศร้า มีสาเหตุมาจากปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว ปัญหาทางเศษฐกิจ และปัญหาความไม่พร้อมในการตั้งครรภ์โดยแสดงอาการแพ้มากกว่าปกติ รับประทานอาหารไม่ได้ อาเจียน และเคยรับประทานยาขับเลือด ซึ่งอาจจะมีผลต่อกระบวนการพัฒนาของทารกในครรภ์ สำหรับการคลอดพบว่า คลอดโดยวิธีที่ผิดปกติ เช่น การผ่าตัดคลอด ใช้เครื่องดูดหรือคีม ใช้ยาเร่งคลอด ร้อยละ 42.13 เด็กมีน้ำหนักตัวแรกเกิดต่ำกว่า 3,000 กรัม ร้อยละ 43.81 มีสภาวะตัวเขียว ตัวเหลืองและน้ำตาลในเลือด ต่ำรวมเป็นร้อยละ 26.06 ลักษณะพื้นฐานทางอารมณ์ เป็นเด็กเลี้ยงง่ายร้อยละ 76.85 ส่วนการเลี้ยงดูด้วยนมพบว่า เลี้ยงด้วยนมผสมร้อยละ 83.56 และเลี้ยงด้วยนมแม่อย่างเดียวพบร้อยละ6.04 สำหรับการเลี้ยงดูก่อนอายุ 6 เดือน ร้อยละ 84.80 ลักษณะการอบรมเลี้ยงดู ผู้ป่วยถูกเลี้ยงดูแบบปล่อยปละเลย เลี้ยงดูอย่างตามใจ เลี้ยงดูอย่างขัดแย้ง และเข้มงวดรวมเป็นร้อยละ 80.03 ปัญหาทางสังคมที่พบในครอบครัวผู้ป่วยพบว่า ความสัมพันธ์ในครอบครัวไม่ดี รายได้ไม่พอใช้เครียดและวิตกจากการทำงาน สุขภาพทางร่างกายของแม่และสมาชิกในครอบครัวไม่ดี สรุปสาระสำคัญ ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยทางสังคมจิตใจของผู้ป่วย ได้แก่ แม่มีปัญหาสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตขณะตั้งครรภ์ ผู้ป่วยมีสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง ผู้ป่วยได้รับการเลี้ยงดูจากญาติและจ้างคนอื่นเลี้ยง ลักษณะการเลี้ยงดู และปัญหาทางครอบครัว ดังนั้นแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นควรได้มีการส่งเสริมให้ครอบครัวมีสุขภาพกายและมีสุขภาพจิตที่แข็งแรง

Keywords: เด็ก, วัยรุ่น, child, children, adolescent

ปีที่เผยแพร่/Year: 2543

Address: โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 201430006289

ISSN/ISBN: 974-293-644-7

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -