ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ปัทมา สุพรรณกุล, กรแก้ว ทัพมาลัย

ชื่อเรื่อง/Title: ประสิทธิผลโครงการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาบ้า จังหวัดสุพรรณบุรี ปี 2542

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ครั้งที่ 6 วันที่ 6-8 กันยายน 2543

รายละเอียด / Details:

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อประเมินผลประสิทธิภาพโครงการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด (ยาบ้า) ในชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี ปี 2542 โดยนำรูปแบบการประเมินผลโครงการของเคิร์กแพทริกมาประยุกต์ใช้ในการประเมิน ประชากรที่ใช้ศึกษา ได้แก่ วิทยากรระดับอำเภอ ด้านการบำบัดรักษา จาก 4 กระทรวงหลัก ที่ผ่านการอบรมจำนวน 88 คน และผู้ติดยาบ้าที่เข้ารับการบำบัดรักษา ฯ ของตำบลนำร่องใน 10 อำเภอ จำนวน 709 คน รูปแบบการบำบัดใช้วิธีการเข้าค่าย 12 วัน หลังการบำบัดมีการติดตามพฤติกรรมและติดตามผลการตรวจหายาบ้าในปัสสาวะ 4 ครั้ง (15 , 30 , 60 และ 90 วัน) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม แบบบันทึกพฤติกรรมและผลการตรวจปัสสาวะ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/FW (Statistical package for the Social Sciences) โดยใช้วิธีการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ เปรียบเทียบความรู้ของวิทยากรก่อนและหลังการอบรม เปรียบเทียบความรู้ ความคาดหวังของผู้เข้ารับการบำบัดก่อนและหลังการบำบัด ด้วยสถิติ Paired t-test ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างระดับความคิดเห็นในกระบวนการบำบัดรักษากับเพศ ระดับการศึกษา และกระทรวงที่ปฏิบัติงานด้วยสถิติ Chi-square test ผลการวิจัย พบว่า ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการบำบัดรักษาของวิทยากรระดับอำเภอ ก่อนและหลังการอบรม มีความรู้เพิ่มมากขึ้นกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value‹0.05 ความรู้เกี่ยวกับยาบ้าของผู้เข้ารับการบำบัด พบว่า หลังการบำบัด 12 วัน ผู้ผ่านการบำบัด มีความรู้เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value<0.05 สำหรับความคาดหวัง พบว่า ผู้ผ่านการบำบัดมีความคาดหวังต่อการเข้าค่ายสูง ทั้งก่อนและหลังการบำบัดไม่แตกต่างกัน จากการประเมินผลโครงการสามารถประหยัดเงินจากการไม่ต้องไปซื้อยาบ้าเสพในระหว่างการอบรม 12 วัน ของผู้เข้าบำบัด 709 คน คิดเป็นมูลค่าเงินได้ 1,200,479 บาท หลังจากจบโครงการ ( 3 เดือนหลังปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน 10 คน เข้าโรงเรียนพิเศษ 3 คน หยุดเรียน 1 คน เสียชีวิต 1 คน มีเด็กที่รับการฝึกอบรมต่อเนื่อง 8 คน ให้การปรึกษาด้านสุขภาพจิตแก่ครอบครัว 220 ครั้ง เด็กและครอบครัวมีความพึงพอใจมาก สรุปและข้อเสนอแนะ การบริการสุขภาพที่บ้านเป็นการบริการเชิงรุกที่ฝึกให้ครอบครัวมีทักษะในการดูแลเด็กให้พึ่งตนเอง การได้รับการเอาใจใส่จากทีมสุขภาพและ อสม. โดยมีการสร้างเครือข่ายทางสังคมอย่างครบวงจร จะช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีให้เด็กและครอบครัว ส่งผลให้เด็กดำเนินชีวิตไปได้อย่างมั่นคงและเติบโตขึ้นอย่างผู้ที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่เป็นภาระของครอบครัวและสังคม

Keywords: ยาบ้า, ฟื้นฟูสมรรถภาพ, rehabilitation

ปีที่เผยแพร่/Year: 2543

Address: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี

Code: 201430006290

ISSN/ISBN: 974-293-644-7

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -