ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: พินลดา มุลาลี, เสงี่ยม สารบัณฑิตกุล, ทัศนีย์ ศิริมุกดากุล, ธนาพร อรุณเกียรติกุล, นเรศร์ มุลาลี

ชื่อเรื่อง/Title: การนำผู้ป่วยจิตเภทไปรักษาด้วยวิธีพื้นบ้านก่อนมารับการรักษาที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น

แหล่งที่มา/Source: เอกสารการวิจัยเรื่องการนำผู้ป่วยจิตเภทไปรักษาด้วยวิธีพื้นบ้านก่อนมารับการรักษาที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น,พ.ศ.2539

รายละเอียด / Details:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการนำผู้ป่วยจิตเภทไปรักษาด้วยวิธีพื้นบ้านก่อนมารับการรักษาที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้ป่วยโรคจิตเภทและญาติที่มารับการรักษาครั้งแรกจำนวน 400 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยอัตราส่วนร้อยละและไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมของกลุ่มผู้ป่วยในการดำเนินการรักษาครั้งแรกเมื่อรู้ว่าป่วย ด้วยโรคจิตพบว่ารักษาทางไสยศาสตร์ จำนวน 330 ราย (82.50 %),รักษากับแพทย์ปัจจุบัน จำนวน 16 ราย (4.00 %),รักษาโดยวิธีอื่นๆ จำนวน 23 ราย (5.75 %)ไม่เคยรักษาที่อื่นมาก่อนเลยจำนวน 31 ราย (7.75 %)โดยเมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดำเนินการรักษาแบบต่างๆ กับเพศ พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ(Chi – square = 16.90** ,df3,1 p,‹0.001 )พฤติกรรมการรักษาทางไสยศาสตร์เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศไม่พบความแตกต่างทางสถิติ(Chi- square = 10.24 ns,df9,1 0.50

0.30) 2. ความล่าช้าในการนำผู้ป่วยโรคจิตมารักษาที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น มีสาเหตุจาก,มีปัญหาด้านการเงิน จำนวน 56 ราย(14.00 % ), ต้องทำนา ทำสวน ทำไร่ ก่อนจำนวน 34 ราย (8.50 %),มีปัญหาด้านความรู้ จำนวน 13 ราย (3.25 % ),มีปัญหาจากปัจจัยอื่นๆจำนวน 297 ราย(74.25 %)โดยในจำนวน 297 ราย ที่มีปัญหาจากปัจจัยอื่นๆ แยกได้เป็น ผลการรักษาทางไสยศาสตร์ จำนวน 128 ราย (32.00 % ),ถูกญาติทิ้ง จำนวน 76 ราย ()19.00 %),รอผลการรักษาด้วยสมุนไพร จำนวน 23 ราย(5.75 %),รอญาติพี่น้อง จำนวน 21 ราย(5.25 %),รอผลรักษาจากแพทย์ทั่วไป 16 ราย(4.00 %),รอผลรักษาตนเอง ด้วยพลังจิตและสมาธิ จำนวน 2 ราย (0.50%) 3. กลุ่มตัวอย่างของผู้ป่วยที่เคยรักษาโดยวิธีพื้นบ้านมาก่อน จำนวน 353 รายผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น บ้าง จำนวน 164 ราย (46.45 %) ไม่ได้ผลเลยจำนวน 146 ราย (41.36 %) และมีผู้ป่วยจำนวน 13 ราย (3.68 % ) ได้รับบาดเจ็บจากการรักษา 4. เฉลี่ยค่าดำเนินการรักษาพยาบาลทางไสยศาสตร์ รายละ 676.55 บาทเป็นการจ่ายค่ายกครูมากที่ สุดร้อยละ 64.50 รองลงมาเป็นค่าเหมารถร้อยละ 28.66 5. ในการมารับการรักษาที่โรงพยาบาลครั้งนี้มีญาติตามมาด้วยเฉลี่ย 4.65 ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานเท่ากับ 2.42 คนค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 744.89 บาท เป็นค่ายาและค่ารักษา 178.80 บาท เป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ 566.09 บาท 6. ผู้ทำการรักษาทางไสยศาสตร์เป็นพระภิกษุมากที่สุด ร้อยละ 50.14 อายุเฉลี่ยเท่ากับ 58.95 ปี ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน 11.70 ปี

Keywords: meditation, psychiatry, psychosis, psychotic, schizophrenia, จิตเภท, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, พุทธศาสนา, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, โรคจิต, โรคจิตเภท, ศาสนา, ศาสนาพุทธ, สมาธิ, ไสยศาสตร์

ปีที่เผยแพร่/Year: 2539

Address: โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 300390000006

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: นิพนธ์ต้นฉบับ

Download: -