ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: สมชาย จักรพันธุ์ ม.ล., สาลิกา โค้วบุญงาม

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยจิตเวชกับการติดเชื้อ HIV

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมการแพทย์ พ.ศ.2534

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยทางสังคมจิตวิทยาในผู้ป่วยจิตเวชที่ติดเชื้อ HIV 2) เพื่อศึกษาถึงการดำเนินโรค หาความสัมพันธ์ระหว่างโรคทางจิตเวชกับการติดเชื้อ HIV 3) ศึกษาถึงอาการต่าง ๆ ที่พบในผู้ป่วยจิตเวชที่ติดเชื้อ วิธีการวิจัย ส่งแบบสอบถามไปให้แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ และบุคลากรทางจิตเวชอื่น ๆ เพื่อรวบรวมข้อมูลโดยทำการตรวจและสัมภาษณ์ผู้ป่วยจิตเวชที่ติดเชื้อ HIV ทุกราย แล้วส่งแบบสอบถามกลับคืน โรงพยาบาลหรือหน่วยงานสุขภาพจิต 14 แห่ง เครื่องมือ ที่ใช้ในรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามอันประกอบด้วย 1) ข้อมูลทางสังคมจิตวิทยาของผู้ป่วยจิตเวชที่ติดเชื้อ HIV 2) ข้อมูลทางคลินิก ผลการวิจัย พบว่า จำนวนผู้ป่วยจิตเวชที่ได้รับการตรวจเลือดรวมทั้งสิ้น 11.833 ราย จาก 14 หน่วยงาน พบว่า มีผู้ป่วยจิตเวชติดเชื้อ HIV 169 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.43 จากการศึกษาผู้ป่วยอย่างละเอียดจำนวน 92 ราย จาก 169 ราย เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง (ชาย 80 ราย หญิง 12 ราย) พบมากในช่วงอายุ 21-40 ปี มีอายุเฉลี่ย 28.77 ปี ส่วนใหญ่เป็นโสดไม่มีรายได้ และมีภูมิลำเนาอยู่นอกเขตเมือง หากพิจารณาตามภาค ผู้ป่วยส่วนมากอยู่ในภาคกลางมากที่สุด ส่วนใหญ่มีระดับสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย (IQ ตั้งแต่ 63-89) และยังขาดความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคเอดส์ ก่อนจะทราบผลเลือดก็รู้สึกเฉย ๆไม่ส่วนน้อยที่มีความวิตกกังวล (25.37%) เมื่อทราบผลแล้วจะมีความกังวลเพิ่มจำนวนขึ้น (54.10%) แต่ยังมีผู้ป่วยอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่รู้สึกวิตกกังวลอะไรมากนัก ผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้รับการวินิจฉัยว่าอยู่ในกลุ่ม Functional Psychosis มากที่สุด (55.57%) ส่วนใหญ่เป็น Schizophrenia รองลงมาเป็นกลุ่ม Organic Mental Disorder (40.21%) และเป็น Neurosis 3.26% ซึ่งในกลุ่ม Organic Mental Disorder และ Neurosis จะมีความกังวลเมื่อรู้ว่าตนเองติดเชื้อ HIV มากกว่ากลุ่ม Functional psychosis ปัจจัยเสี่ยงที่พบมากในผู้ป่วยเหล่านี้คือ การติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (40.22%) เช่น ชายเที่ยวหญิงบริการและเป็นหญิงขายบริการมาก่อน รองลงมาเป็นเรื่องของการติดสารเสพติด (35.87%) ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าปัจจัยเสี่ยงทางเพศมักพบในผู้ป่วย Functional Psychosis มากที่สุด และผู้ป่วยส่วนมากอยู่ในระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการ (97.82%)

Keywords: จิตเวชศาสตร์, นิติจิตเวช, โรคจิตเภท, โรคเอดส์, เอดส์, AIDS, HIV

ปีที่เผยแพร่/Year: 2534

Address: โรงพยาบาลนิติจิตเวช กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 301340000003

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: นิพนธ์ต้นฉบับ

Download: -