ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: วิไลรัตน์ คุ้มประยูร, วันเพ็ญ เชาว์เชิง, วรนันทา พัฒนจุรีพันธ์, พรทิพย์ คงสัตย์, นาตยา ทฤษฎิคุณ

ชื่อเรื่อง/Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของข้าราชการโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา

แหล่งที่มา/Source: เอกสารการวิจัย,พ.ศ. 2539

รายละเอียด / Details:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของข้าราชการโรงพยาบาลจิตเวชนคราชสีมา และศึกษาผลการปฏิบัติงานของข้าราชการโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา โดยศึกษาประชากร คือ ข้าราชการของโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา ปีงบประมาณ 2539 ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 125 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ข้อมูลเรื่องการลา มาสาย และแบบประเมินผลการปฏิบัติงานของ ก.พ. ได้จากการเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Epi Info ใช้ในการวิเคราะห์การถดถอย และ t-test นำเสนอข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ( X ) ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไป พบว่า ข้าราชการส่วนใหญ่มีตำแหน่งเป็นพยาบาล ใช้ระยะเวลาจากบ้านพักถึงโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา น้อยกว่า 30 นาที ข้อมูลโอกาสความก้าวหน้า ข้าราชการส่วนใหญ่เคยได้เลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษ 1 ครั้ง ข้อมูลลักษณะงาน ข้าราชการส่วนใหญ่ปฏิบัติงานในงานผู้ป่วยใน เคยถูกผู้ป่วยทำร้ายโดยถูกกัด ตบ เตะ ถีบ ส่วนข้อมูลรายได้และรายงานพิเศษ ข้าราชการส่วนใหญ่รายได้ไม่พอใช้ และใช้การกู้ยืมสหกรณ์หรือสินเชื่อธนวัฎเมื่อรายได้ไม่พอใช้ ส่วนใหญ่ไม่มีการทำงานพิเศษ และข้อมูลผลการปฏิบัติงานส่วนใหญ่มีการลา 1-10 ครั้ง อยู่ในช่วง 11 - 20 วัน ผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของข้าราชการโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา พบว่า 1. โอกาสความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลการปฏิบัติงาน ซึ่งหมายความว่า ถ้าข้าราชการได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษ การเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น มีการได้รับอนุญาตให้ศึกษาต่อ ประชุม สัมมนา ก็จะทำให้มีผลการปฏิบัติงานดี เป็นการยอมรับสมมติฐาน 2. ระยะเวลาในการเดินทางมาปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์เชิงลบกับผลการปฏิบัติงาน ซึ่งหมายความว่า ถ้าข้าราชการใช้เวลาในการเดินทางมาปฏิบัติงานน้อยจะทำให้มีผลการปฏิบัติงานดี เป็นการยอมรับสมมติฐาน นอกจากนี้ยังมีส่วนที่ศึกษาเพิ่มเติม พบว่า ข้าราชการที่เป็นโสดจะมีผลการปฏิบัติงานดีกว่าข้าราชการที่สมรสแล้ว

Keywords: nurse, mental health, ข้าราชการ, สุขภาพจิต, บุคลากรโรงพยาบาลจิตเวช, บริหาร, พยาบาล

ปีที่เผยแพร่/Year: 2539

Address: โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 302390000004

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: นิพนธ์ต้นฉบับ

Download: -