ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: วิไลรัตน์ คุ้มประยูร

ชื่อเรื่อง/Title: สัมพันธภาพเชิงวิชาชีพและความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา

แหล่งที่มา/Source: เอกสารการวิจัย,พ.ศ. 2539

รายละเอียด / Details:

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะสัมพันธภาพเชิงวิชาชีพและความสามารถในการปฏิบัติงาน ของพยาบาลวิชาชีพ ร.พ.จิตเวชนครราชสีมา เปรียบเทียบสัมพันธภาพเชิงวิชาชีพและความสามารถในการปฎิบัติงาน ตามการรับรู้ตนเอง จำแนกตาม อายุ ระยะเวลาในการปฏิบัติงานตำแหน่งปฏิบัติงาน การอบรมการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช และการประเมินตามการรับรู้ตนเองและการประเมินโดยผู้บังคับบัญชา ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพเชิงวิชาชีพกับความสามารถในการปฏิบัติ ตามการรับรู้ตนเองและการประเมินโดยผู้บังคับบัญชา ตัวอย่างประชากร ที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มแรก เป็นพยาบาลวิชาชีพในระดับหัวหน้าหอผู้ป่วย และระดับประจำการทุกคนที่ปฏิบัติงาน ใน ร.พ. จิตเวชนครราชสีมา จำนวน 41 คน 2.กลุ่มที่สอง เป็นพยาบาลวิชาชีพระดับผู้ตรวจการพยาบาล และระดับหัวหน้าหอผู้ป่วยทุกคน ที่ปฏิบัติงาน ใน ร.พ.จิตเวชนครราชสีมา จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและการทดสอบค่าความเที่ยงแล้ว การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s coefficience) ผลการวิจัยปรากฎดังนี้ 1. พยาบาลวิชาชีพ ร.พ. จิตเวชนครราชสีมาที่เป็นตัวอย่างประชากร ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ระหว่าง 31-40 ปี คิดเป็นร้อยละ 51.2 มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานอยู่ระหว่าง 11-15 ปี คิดเป็นร้อยละ 31.7 มีตำแหน่งปฏิบัติงานในระดับประจำการ คิดเป็นร้อยละ 87.8 และเคยได้รับการอบรมการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช ร้อยละ 36.6 2. ลักษณะสัมพันธภาพเชิงวิชาชีพ ของพยาบาลวิชาชีพ ร.พ.จิตเวชนครราชสีมา ตามการรับรู้ตนเอง และการประเมินโดยผู้บังคับบัญชา โดยรวมและรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับสูงทั้งสิ้น 3. ลักษณะความสามารถในการปฏิบัติงาน ของพยาบาลวิชาชีพ ร.พ.จิตเวชนครราชสีมาตามการรับรู้ตนเอง โดยรวมและรายด้านทุกด้าน พบว่าอยู่ในระดับสูง ส่วนความสามารถในการปฏิบัติงานตามการประเมินโดยผู้บังคับบัญชา โดยรวม และด้านความสามารถด้านบริหารการพยาบาล และความสามารถด้านบริการการพยาบาล อยู่ในระดับสูง ส่วนความสามารถในด้านวิชาการพยาบาลพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง 4. พยาบาลวิชาชีพ ร.พ.จิตเวชนครราชสีมาที่มีอายุอยู่ระหว่าง 23-30 ปี , 31-40 ปี และ 41-45 ปี มีสัมพันธภาพเชิงวิชาชีพโดยรวมและด้านความมั่นใจและความไว้วางใจ ด้านการให้ความช่วยเหลือกันและกัน ด้านการให้ความสนับสนุนกันและกัน ด้านการทำงานกลุ่มที่มุ่งความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายร่วมกัน ด้านการริเริ่มสร้างสรรค์ และด้านความเป็นอิสระจากการควบคุมไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านความเป็นมิตรและความรื่นรมย์ ด้านการติดต่อสื่อสารระบบเปิด พบว่ามีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5. พยาบาลวิชาชีพ ร.พ. จิตเวชนครราชสีมาที่มีอายุอยู่ระหว่าง 23-30 ปี, 31-40 ปี และ 41-45 ปี มีความสามารถในการปฏิบัติงานโดยรวมและรายด้านทุกด้าน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 6. พยาบาลวิชาชีพ ร.พ.จิตเวชนครราชสีมาที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานอยู่ระหว่าง 1-5 ปี , 6-10 ปี , 11-15 ปี และ 16 ปีขึ้นไป มีสัมพันธภาพเชิงวิชาชีพโดยรวม และด้านการให้ความสนับสนุนกันและกัน ด้านการทำงานกลุ่มที่มุ่งความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายร่วมกัน ด้านการริเริ่มสร้างสรรค์ และด้านการติดต่อสื่อสารระบบเปิด แตกต่างกัน แต่ทั้งนี้พบว่าด้านความเป็นมิตรและความรื่นรมย์ ด้านความมั่นใจและความไว้วางใจ ด้านการให้ความช่วยเหลือกันและกัน และด้านความเป็นอิสระจากการควบคุม พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 7. พยาบาลวิชาชีพ ร.พ. จิตเวชนครราชสีมาที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานอยู่ระหว่าง 1-5 ปี , 6-10 ปี, 11-15 ปี และ 16 ปีขึ้นไป ความสามารถในการปฏิบัติงานโดยรวม และรายด้านทุกด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 8. พยาบาลวิชาชีพ ร.พ.จิตเวชนครราชสีมา ที่มีตำแหน่งปฏิบัติงานในระดับหัวหน้าหอผู้ป่วยและระดับประจำการ มีสัมพันธภาพเชิงวิชาชีพโดยรวม และรายด้านทุกด้าน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 9. พยาบาลวิชาชีพ ร.พ. จิตเวชนครราชสีมา ที่มีตำแหน่งปฏิบัติงานในระดับหัวหน้าหอผู้ป่วยและระดับประจำการ มีความสามารถในการปฏิบัติงานโดยรวม และรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 10. พยาบาลวิชาชีพ ร.พ. จิตเวชนครราชสีมา ที่ได้รับและไม่ได้รับการอบรมการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช มีสัมพันธภาพเชิงวิชาชีพ โดยรวม และรายด้านทุกด้าน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 11. พยาบาลวิชาชีพ ร.พ.จิตเวชนครราชสีมา ที่ได้รับและไม่ได้รับการอบรมการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช มีความสามารถในการปฏิบัติงานโดยรวม และรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 12. สัมพันธภาพเชิงวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพ ร.พ.จิตเวชนครราชสีมา ตามการรับรู้ตนเองและการประเมินโดยผู้บังคับบัญชา โดยรวม และด้านการให้ ความช่วยเหลือกันและกัน ด้านการให้ความสนับสนุนกันและกัน ด้านความเป็นมิตรและความรื่นรมย์ ด้านการทำงานกลุ่มที่มุ่งความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายร่วมกัน ด้านการริเริ่มสร้างสรรค์ ด้านความเป็นอิสระจากการควบคุม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านความเป็นมิตรและความรื่นรมย์ ด้านการติดต่อสื่อสารระบบเปิด ของพยาบาลวิชาชีพ ไม่แตกต่างกัน 13. ความสามารถในการปฏิบัติงาน ของพยาบาลวิชาชีพ ร.พ.จิตเวชนครราชสีมา ตามการรับรู้ตนเอง และตามการประเมินโดยผู้บังคับบัญชา โดยรวมและด้านบริหารการพยาบาล ด้านบริการพยาบาล มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านวิชาการการพยาบาล พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน 14. สัมพันธภาพเชิงวิชาชีพ กับความสามารถในการปฏิบัติงาน ตามการรับรู้ตนเองของพยาบาลวิชาชีพ ร.พ.จิตเวชนครราชสีมา โดยรวม และรายด้านทุกด้าน มีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 15. สัมพันธภาพเชิงวิชาชีพ กับความสามารถในการปฏิบัติงาน ของพยาบาลวิชาชีพ ร.พ.จิตเวชนครราชสีมา ตามการประเมินโดยผู้บังคับบัญชา โดยรวม และรายด้านทุกด้าน มีความสัมพันธ์กันในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Keywords: nurse, psychiatric nursing การพยาบาลจิตเวช, ปฏิบัติการพยาบาล, พยาบาล

ปีที่เผยแพร่/Year: 2539

Address: โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 302390000007

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: นิพนธ์ต้นฉบับ

Download: -