ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: วิไลรัตน์ คุ้มประยูร

ชื่อเรื่อง/Title: รายงานการวิจัยเรื่อง สัมพันธภาพเชิงวิชาชีพและความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา

แหล่งที่มา/Source: เอกสารการวิจัยเรื่อง รายงานการวิจัยเรื่อง สัมพันธภาพเชิงวิชาชีพและความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา, พ.ศ. 2540

รายละเอียด / Details:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาลักษณะสัมพันธภาพเชิงวิชาชีพและความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา เปรียบเทียบสัมพันธภาพเชิงวิชาชีพและความสามารถในการปฏิบัติงานตามการรับรู้ตนเอง จำแนกตามอายุ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ตำแหน่งปฏิบัติงาน การอบรมการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชและการประเมินตามการรับรู้ตนเองและการประเมินโดยผู้บังคับบัญชา ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพเชิงวิชาชีพกับความสามารถในการปฏิบัติงานตามการรับรู้ตนเองและการประเมินโดยผู้บังคับบัญชา ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มแรกเป็นพยาบาลวิชาชีพในระดับหอผู้ป่วยและระดับประจำการทุกคนที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา จำนวน 41 คน 2. กลุ่มที่สอง เป็นพยาบาลวิชาชีพในระดับผู้ตรวจการพยาบาลและระดับหอผู้ป่วยทุกคนที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและการทดสอบค่าความเที่ยงแล้ว การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s coeffciene) ผลการวิจัยปรากฎดังนี้ 1. พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาที่เป็นตัวอย่างประชากร ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 31-40 ปี คิดเป็นร้อยละ 51.2 มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานอยู่ระหว่าง 11-15 ปี คิดเป็นร้อยละ 31.7 มีตำแหน่งปฏิบัติงานในระดับประจำการ คิดเป็นร้อยละ 87.8 และเคยได้รับการอบรมพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช ร้อยละ 36.6 2. ลักษณะสัมพันธภาพเชิงวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาตามการรับรู้ตนเองและการประเมินโดยผู้บังคับบัญชา โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับสูงทั้งสิ้น 3. ลักษณะความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา ตามการรับรู้ตนเองโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับสูง ส่วนความสามารถในการปฏิบัติตามการประเมินโดยผู้บังคับบัญชา โดนรวมและด้านความสามารถด้านบริหารการพยาบาลและความสามารถด้านบริการพยาบาล อยู่ในระดับสูง ส่วนความสามารถในด้านวิชาการการพยาบาลพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง 4. พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาที่มีอายุอยู่ระหว่าง 23-30 ปี , 31-40 ปี และ 41-45 ปี มีสัมพันธภาพเชิงวิชาชีพโดยรวมและด้านความมั่นใจและความไว้วางใจ ด้านการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ด้านการให้ความสนับสนุนกันและกันด้านการทำงานกลุ่มที่มุ่งความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายร่วมกัน ด้านการริเริ่มสร้างสรรค์และด้านความเป็นอิสระจากการควบคุมไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านความเป็นมิตรและความรื่นรมย์ ด้านการสื่อสารระบบเปิด พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5. พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาที่มีอายุอยู่ระหว่าง 23-30 ปี , 31-40 ปี และ 41-45 ปี มีความสามารถในการปฏิบัติงานโดยรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 6. พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาที่มีประสบการณ์การปฏิบัติงานอยู่ระหว่าง 1-5 ปี 6-10 ปี 11-15 ปี และ 16 ปีขึ้นไป มีสัมพันธภาพทางวิชาชีพโดยรวมและด้านการให้ความสนับสนุนกันและกัน ด้านการทำงานกลุ่มที่มุ่งความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายร่วมกัน ด้านการริเริ่มสร้างสรรค์และด้านการติดต่อสื่อสารระบบเปิด แตกต่างกัน แต่ทั้งนี้พบว่า ด้านความเป็นมิตรและความรื่นรมย์ ด้านความมั่นใจและความไว้วางใจ ด้านการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันและด้านความเป็นอิสระจากการควบคุม พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 7. พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาที่มีประสบการณ์การปฏิบัติงานอยู่ระหว่าง 1-5 ปี 6-10 ปี 11-15 ปี และ 16 ปีขึ้นไป ความสามารถในการปฏิบัติงานโดยรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 8. พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาที่มีตำแหน่งปฏิบัติงานระดับหัวหน้าหอผู้ป่วยและระดับประจำการมีสัมพันธภาพวิชาชีพโดยรวมและรายด้านทุกด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 9. พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาที่มีตำแหน่งปฏิบัติงานระดับหัวหน้าหอผู้ป่วยและระดับประจำการมีสัมพันธภาพวิชาชีพโดยรวมและรายด้านทุกด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 10. พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาที่ได้รับและไม่ได้รับการอบรมการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช มีสัมพันธภาพวิชาชีพโดยรวมและรายด้านทุกด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 11. พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาที่ได้รับและไม่ได้รับการอบรมการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช ความสามารถในการปฏิบัติงานโดยรวมและรายด้านทุกด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 12. สัมพันธภาพเชิงวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา ตามการรับรู้ตนเองและการประเมินโดยผู้บังคับบัญชาโดยรวมและด้านการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ด้านความเป็นมิตรและความรื่นรมย์ ด้านการทำงานกลุ่มที่มุ่งความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายร่วมกัน ด้านการริเริ่มสร้างสรรค์ ด้านความเป็นอิสระจากการควบคุม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านความเป็นมิตรและความรื่นรมย์ ด้านการติดต่อสื่อสารระบบเปิดของพยาบาลวิชาชีพไม่แตกต่างกัน 13. ความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา ตามการรับรู้ตนเองและการประเมินโดยผู้บังคับบัญชาโดยรวมและด้านบริหารการพยาบาล ด้านบริการการพยาบาลมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านวิชาการการพยาบาล พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน 14. สัมพันธภาพเชิงวิชาชีพกับความสามารถในการปฏิบัติงานตามการรับรู้ตนเองของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา โดยรวมและรายด้านทุกด้าน มีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 15. สัมพันธภาพเชิงวิชาชีพกับความสามารถในการปฏิบัติงานตามการรับรู้ตนเองของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา ตามการประเมินโดยผู้บังคับบัญชาโดยรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Keywords: พยาบาล, nurse

ปีที่เผยแพร่/Year: 2540

Address: โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 302400000022

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: นิพนธ์ต้นฉบับ

Download: -