ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: วิไลรัตน์ คุ้มประยูร, วันเพ็ญ เชาว์เชิง

ชื่อเรื่อง/Title: โครงการเพื่อนช่วยเพื่อนสำหรับญาติผู้ป่วยโรคทางจิตเวชที่กำลังรักษาในแผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลนครราชสีมา

แหล่งที่มา/Source: เอกสารการวิจัยเรื่อง โครงการเพื่อนช่วยเพื่อนสำหรับญาติผู้ป่วยโรคทางจิตเวชที่กำลังรักษาในแผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา , พ.ศ. 2541

รายละเอียด / Details:

ผลงานชิ้นนี้ได้มาจากการพัฒนางานบริการแผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา โดยทำเป็นโครงการ “เพื่อนช่วยเพื่อน” สำหรับญาติผู้ป่วยโรคทางจิตที่กำลังรักษาในแผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา และนำผลโครงการพัฒนางานชิ้นนี้มาประเมินค่า เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ เป็นแนวทางในการวางแผนและพัฒนารูปแบบการให้คำแนะนำด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยและญาติ และนำไปใส่ในแผนปฏิบัติงานของโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา จากการประชุมประเมินผล 6 เดือน ระหว่างวันที่ 8-10 พฤษภาคม 2541 ภายใต้โครงการปฏิรูประบบบริการสุขภาพจิต (Mental health Service System reform) ซึ่งเป็นโครงการระดับกรมสุขภาพจิต โดยใช้หลักการการดำเนินการแบบมีส่วนร่วมของและทีมผู้ให้บริการ (Participatory action research) ดำเนินโครงการในแผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา จัดทำกลุ่มสัปดาห์ละ 2 ครั้ง วันอังคารและวันพฤหัสบดี เวลา 10.30-11.30 น. จำนวนประชากรทั้งหมด 100 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ทีมดำเนินการสร้างขึ้นเองมี 3 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไปของญาติผู้ป่วย ทัศนคติของญาติต่อผู้ป่วย และความพึงพอใจของญาติต่อการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS/PC โดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของคะแนนทัศนคติและความพึงพอใจของญาติพร้อมทั้งนำมาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของทัศนคติและความพึงพอใจ โดยใช้ t-test และ Anova ผลการดำเนินงานโครงการพบว่า ลักษณะทางประชากรของญาติผู้ป่วยไม่มีผลต่อทัศนคติในการดูแลผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % ส่วนระยะเวลาการดูแลผู้ป่วยต่ำกว่า 5 ปี พบว่าเวลาที่ดูแลน้อย มีทัศนคติที่ดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % แต่ในกลุ่ม 5 ปีขึ้นไป เมื่อนำมาเปรียบเทียบไม่พบว่ามีความแตกต่างกัน ผลการศึกษาทัศนคติของญาติต่อผู้ป่วยก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มพบว่า ค่าคะแนนทัศนคติดีขึ้นและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % ความพึงพอใจของญาติต่อการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม พบว่าญาติมีความพึงพอใจกลุ่มคิดเป็นร้อยละ 91.46

Keywords: ผู้ป่วยใน, บริการจิตเวช, จิตเวชศาสตร์, ผู้ป่วยจิตเวช, บริการผู้ป่วยในจิตเวช, โรงพยาบาลจิตเวช, บริการพยาบาล, การพยาบาลจิตเวช

ปีที่เผยแพร่/Year: 2541

Address: โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 302410000020

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: นิพนธ์ต้นฉบับ

Download: -