ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: โรงพยาบาลสวนปรุง เชียงใหม่

ชื่อเรื่อง/Title: สำรวจความเครียดของญาติผู้ป่วยในโรงพยาบาลสวนปรุง เชียงใหม่

แหล่งที่มา/Source: เอกสารการวิจัย พ.ศ. 2530

รายละเอียด / Details:

“สำรวจความเครียดของญาติผู้ป่วยในโรงพยาบาลสวนปรุง” อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความเครียดของญาติผู้ป่วยในโรงพยาบาลสวนปรุง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยศึกษาจากญาติผู้ใกล้ชิดที่ให้ประวัติผู้ป่วยโดยไม่จำกัดอายุ เพศ การศึกษา สถานภาพสมรส ความสัมพันธ์กับผู้ป่วย ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2530 ถึง 30 กันยายน 2530 จำนวน195 คน ผลการศึกษาปรากฎดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยความเครียดเท่ากับ 33.28 ญาติผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 66.2 มีความเครียดระดับปานกลาง ร้อยละ 14.4 มีความเครียดระดับสูง 2. ผู้ที่มีความสัมพันธ์กับผู้ป่วยในฐานะสามี-ภรรยามีระดับความเครียดที่มีแนวโน้มสูงกว่าผู้มีความสัมพันธ์อย่างอื่น โดยมีค่าเฉลี่ยระดับความเครียด 34.23 3. ญาติผู้ป่วยที่นำผู้ป่วยมาส่งโรงพยาบาล เป็นชายร้อยละ 60.3 เป็นหญิงร้อยละ 39.7 ทั้ง 2 กลุ่ม มีระดับความเครียดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าเฉลี่ยความเครียดเพศชาย 33.44 เพศหญิง 33.04 ตามลำดับ 4. ญาติผู้ป่วยที่มีอายุ 20-35 ปี เป็นผู้นำส่งผู้ป่วยมาโรงพยาบาลมากที่สุด คือร้อยละ 40.0 เมื่อเปรียบเทียบระดับความเครียดในแต่ละช่วงอายุ พบว่าผู้มีอายุระหว่าง 36-50 ปี มีแนวโน้มความเครียดสูงกว่า คือ 33.90 ผู้มีอายุระหว่าง 0-15 ปี มีแนวโน้มความเครียดต่ำสุด คืออยู่ในระดับ 28.30 5. ญาติผู้ป่วยร้อยละ 81.0 มีการศึกษาระดับประถมและพบว่าญาติผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการศึกษามีแนวโน้มความเครียดสูงกว่ากลุ่มอื่นคือ อยู่ในระดับ 35.47 6. ญาติผู้ป่วยร้อยละ 55.4 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเมื่อเปรียบเทียบระดับความเครียด พบว่า ญาติผู้ป่วยที่มีอาชีพแตกต่างกันมีค่าระดับความเครียดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 7. เมื่อเปรียบเทียบระดับความเครียดกับสถานภาพสมรสของญาติผู้ป่วย พบว่าญาติผู้ป่วยที่มีสถานภาพสมรส หม้าย และหย่ามีความเครียดอยู่ในระดับสูงกว่ากลุ่มอื่น คือร้อยละ 37.05 และร้อยละ 37.50 ตามลำดับ และเมื่อทดสอบค่าทางสถิติพบว่าผู้มีสถานภาพหม้ายและหย่ามีระดับความเครียดสูงกว่าผู้มีสถานภาพสมรสคู่และโสด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 8. ครอบครัวผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 20 มีรายได้ 10,000-15,000 บาท/ปี เมื่อเปรียบเทียบกับระดับความเครียด พบว่าผู้มีรายได้ระดับ 25,000-30,000 บาท/ปี มีแนวโน้มความเครียดสูงกว่ากลุ่มอื่น คือ ร้อยละ 35.44 ส่วนผู้มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท/ปี มีแนวโน้มความเครียดต่ำสุดคือ ร้อยละ30.91 9. ผู้ป่วยร้อยละ 82.05 มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท/ปี เมื่อเปรียบเทียบระดับความเครียดพบว่า ญาติของผู้ป่วยที่มีรายได้มากกว่า 20,000 บาท/ปี มีแนวโน้มความเครียดสูงกว่ากลุ่มอื่นคือ 37.33 10. ผู้ป่วยร้อยละ 71.8 เป็นโรค schizophrenia (จิตเภท) เมื่อเปรียบเทียบกับระดับความเครียดพบว่าญาติของผู้ป่วย mania และ epilepsy มีแนวโน้มระดับความเครียดสูงกว่าญาติผู้ป่วยกลุ่มอื่น คือมีระดับ 35.11 และ 35.33 ตามลำดับ 11. ผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 48.7 เป็นผู้มารับการรักษาครั้งที่ 2-4 เมื่อเปรียบเทียบกับระดับความเครียดพบว่า ญาติผู้ป่วยที่พาผู้ป่วยมารักษาครั้งแรกมีแนวโน้มที่จะมีระดับความเครียดสูงกว่ากลุ่มอื่น คือ ร้อยละ33.69 แต่เมื่อหาค่าทางสถิติพบว่าไม่มีค่าความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในแต่ละกลุ่ม สรุปผลการศึกษาพบว่า เมื่อเปรียบเทียบระดับความเครียดของญาติผู้ป่วยในโรงพยาบาลสวนปรุง กับสถานภาพด้านต่างๆ แล้ว นอกจากญาติผู้ป่วยที่มีสถานภาพหม้าย หย่า ที่มีระดับความเครียดสูงกว่าผู้มีสถานภาพคู่และโสดแล้ว ในด้านอายุ เพศ อาชีพ การศึกษา ความสัมพันธ์กับผู้ป่วย รายได้ของครอบครัว รายได้ของผู้ป่วย การวินิจฉัยโรค จำนวนครั้งที่ผู้ป่วยอยู่โรงพยาบาลที่แตกต่างกันมีผลทำให้เกิดความเครียดในระดับที่ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Keywords: family, IPD, psychiatry, stress, ครอบครัว, , ความเครียด, เครียด, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, , ญาติ, ผู้ป่วยใน

ปีที่เผยแพร่/Year: 2530

Address: โรงพยาบาลสวนปรุง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 305300000016

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: นิพนธ์ต้นฉบับ

Download: -