ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ส่วนวิจัยและพัฒนา สำนักพัฒนาสุขภาพจิต

ชื่อเรื่อง/Title: ความคิดเห็นต่อการเปลี่ยนแปลงเป็นสถาบันสุขภาพจิตของผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานสถาบันสุขภาพจิต

แหล่งที่มา/Source: เอกสารการวิจัย พ.ศ. 2536

รายละเอียด / Details:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การเคลื่อนไหวและการพัฒนางานสุขภาพจิต ความประสงค์ที่จะให้สถาบันสุขภาพจิตดำเนินการ รวมทั้งความคิดเห็นต่อการเปลี่ยนแปลงองค์การเป็นสถาบันสุขภาพจิตของผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานสถาบันสุขภาพจิต โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการเปลี่ยนแปลงองค์กรเป็นสถาบันสุขภาพจิตของผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานสถาบันสุขภาพจิต การวิจัยครั้งนี้เก็บข้อมูลจากบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานสถาบันสุขภาพจิต 13 หน่วยงาน จำนวน 736 คน เป็นเพศชาย 148 คน เพศหญิง 588 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละและค่าไค-สแควร์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานสถาบันสุขภาพจิต ทราบว่าได้มีการแบ่งส่วนราชการเปลี่ยนแปลงองค์กรเป็นสถาบันสุขภาพจิต รวมทั้งทราบว่าสถาบันสุขภาพจิตได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องบทบาท ทิศทาง และการส่งเสริมสร้างเอกภาพของงานสุขภาพจิต มากกว่าไม่ทราบ โดยส่วนใหญ่ทราบจากผู้บังคับบัญชาแจ้งให้ทราบ นอกจากนั้น พบว่าผู้ปฏิบัติงานของสถาบันสุขภาพจิตได้รับความรู้ ความเข้าใจในเรื่องนโยบาย บทบาท ทิศทางการดำเนินงานสุขภาพจิตของสถาบันสุขภาพจิต และได้รับความรู้ความเข้าใจในเรื่องนโยบาย และหน้าที่ความรับผิดชอบหลักของหน่วยงาน ซึ่งได้รับโดยผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาประชุมชี้แจงให้ทราบ แสดงว่าได้มีการเคลื่อนไหวในหน่วยงาน มีการเตรียมพร้อมผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานต่อการเปลี่ยนแปลงองค์กร 2. ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานสถาบันสุขภาพจิตที่ไม่ได้รับมอบหมายงานจากผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาให้จัดทำโครงการต่าง ๆ ของงานสุขภาพจิตมีมากกว่าได้รับมอบหมายงาน และงานที่ได้รับมอบหมายจะเป็นโครงการงานสุขภาพจิตของหน่วยงาน ส่วนในด้านของผู้ปฏิบัติงานเองในการมีโครงการหรือกิจกรรมในการสนับสนุนหรือส่งเสริมงานสุขภาพจิต ก็พบว่าผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานสถาบันสุขภาพจิตที่ไม่มีโครงการหรือกิจกรรม มีมากกว่าที่มีโครงการหรือกิจกรรมในการสนับสนุนหรือส่งเสริมสุขภาพจิตและโครงการส่วนใหญ่ที่มีจะเป็นโครงการงานส่งเสริมสุขภาพจิตในโรงเรียน/ชุมชน ซึ่งเป็นการสนองนโยบายสุขภาพจิตของสถาบันสุขภาพจิต 3. ความประสงค์ของผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานสถาบันสุขภาพจิตที่จะให้สถาบันสุขภาพจิตดำเนินการเป็นอันดับหนึ่งคือ ส่งเสริม สนับสนุนให้มีความก้าวหน้าในวิชาชีพ อันดับสองคือ กำหนดนโยบายและกลวิธีที่ชัดเจนให้หน่วยงานดำเนินการ อันดับสามคือ พัฒนาสมรรถภาพของบุคลากร อันดับสี่คือปรับปรุงการบริหารจัดการภายในเพื่อให้มีศักยภาพทัดเทียมกับกรมอื่น ๆ อันดับห้าคือ สร้างเสริมขวัญและกำลังใจ อันดับหกคือพัฒนาเทคโนโลยีและกลวิธีที่เป็นรูปธรรมเพื่อนำไปปฏิบัติ อันดับเจ็ดคือพัฒนาทางด้านวิชาการ อันดับแปดคือ เสริมสร้างเอกภาพภายในหน่วยงาน อันดับเก้าคือ ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรในหน่วยงาน อันดับสิบ คือ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานสุขภาพจิตภายในหน่วยงานอันดับสิบเอ็ดคือพัฒนาการให้บริการสุขภาพจิตทั้งด้านปริมาณและคุณภาพให้ครอบคลุมประชาชนทั้งในเมืองและชนบท และอันดับสิบสอง คือเผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานสุขภาพจิตภายนอกหน่วยงาน 4. ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานสถาบันสุขภาพจิต ที่มีความคิดเห็นว่าเห็นด้วยต่อการเปลี่ยนแปลงองค์กรเป็นสถาบันสุขภาพจิต มีมากกว่าผู้ปฏิบัติงานที่รู้สึกเฉย ๆ ต่อการเปลี่ยนแปลงองค์กรเป็นสถาบันสุขภาพจิตและมีมากกว่าผู้ปฏิบัติงานที่ไม่เห็นด้วยต่อการเปลี่ยนแปลงองค์กรเป็นสถาบันสุขภาพจิต สำหรับผู้ปฏิบัติงานที่เห็นด้วยต่อการเปลี่ยนแปลงองค์กรเป็นสถาบันสุขภาพจิต ส่วนหนึ่งคิดว่า เพื่อเกิดความเป็นเอกภาพขององค์กร มีนโยบายสุขภาพจิตชัดเจน แบ่งอำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ และทำงานเฉพาะทางด้านจิตเวช และอีกส่วนหนึ่งคิดว่า เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาศักยภาพขององค์กรให้ทัดเทียมกรมอื่น ๆ และเกิดความก้าวหน้าในองค์กร

Keywords: psychiatry, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, บริหาร, องค์กร

ปีที่เผยแพร่/Year: 2536

Address: สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 309360000001

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: นิพนธ์ต้นฉบับ

Download: -