ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ศุภรพรรณ ศรีหิรัญรัศมี, ชนิสา เวชวิรุฬ์ท, ยุวดี กิติคุณ

ชื่อเรื่อง/Title: ความคิดเห็นของประชาชนในการสร้างคู่มือส่งเสริมพัฒนาการสำหรับเด็กพัฒนาการช้าในชุมชน

แหล่งที่มา/Source: เอกสารการวิจัยเรื่อง ความคิดเห็นของประชาชนในการสร้างคู่มือส่งเสริมพัฒนาการสำหรับเด็กพัฒนาการช้าในชุมชน ,พ.ศ. 2542

รายละเอียด / Details:

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อทราบความคิดเห็นของประชาชน เรื่องความต้องการการส่งเสริมพัฒนาการสำหรับเด็กพัฒนาการช้าในชุมชน และความคิดเห็นของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ เรื่องความสามารถในการให้บริการฝึกสอนเด็กพัฒนาการช้าในชุมชน และรูปแบบของคู่มือส่งเสริมพัฒนาการที่ต้องการ ดำเนินการวิจัยโดยจัดประชุมสนทนากลุ่ม ร่วมกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 72 ราย คือ กลุ่มประชาชน กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และกลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ ที่จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป และคู่มือการสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มและจดบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลเรื่องความต้องการส่งเสริมพัฒนาการสำหรับเด็กพัฒนาการช้าในชุมชน กลุ่มประชาชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ มีความเห็นสอดคล้องกันว่า การฝึกสอนเด็กพัฒนาการช้า เป็นสิ่งที่จำเป็น ต้องกระทำตั้งแต่เด็กยังเล็ก สามารถสอนได้ทุกระดับอายุ กลุ่มประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เป็นผู้ให้คำแนะนำฝึกสอนเด็กพัฒนาการช้า เพราะมีเวลาในการให้บริการ และอยู่ใกล้ แต่ควรได้รับการฝึกอบรมก่อน เพื่อให้มีความรู้ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และกลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ มีความเห็นว่า สามารถให้บริการแก่ประชาชนได้ แต่ต้องมีการอบรมให้ความรู้ มีการติดตามผลการอบรมและนิเทศงาน ตลอดจนต้องการให้บริการมีระบบเป็นขั้นตอน คือ ผู้มารับบริการพบแพทย์ เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย และพบอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตามลำดับในเรื่องรูปแบบคู่มือส่งเสริมพัฒนาการ ทั้งกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และกลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ สรุปว่า ขนาดของคู่มือ ควรเท่ากับสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กของกระทรวงสาธารณสุข หรือใหญ่กว่าได้ไม่เกิน 1 นิ้ว คูณ 1 นิ้ว ขนาดตัวหนังสือควรใหญ่กว่าในสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กเล็กน้อย มีจำนวนข้อแนะนำประมาณ 20-25 ข้อและเน้นวิธีการฝึกสอนในเด็กเล็กมากกว่าเด็กโต ขนาดรูปภาพควรมีขนาดเท่ากับภาพในสมุดสุขภาพแม่และเด็ก เป็นภาพจริงและมีสีสัน มีคำอธิบายประกอบสั้น ๆ และหน้าปกควรมีสีสันเช่นกัน นอกจากนี้ คำแนะนำวิธีการใช้คู่มือ ควรอยู่ในเล่มเดียวกัน ข้อมูลเกี่ยวกับของเล่นและการละเล่นพื้นบ้านของเด็กแรกเกิด - 6 ปี พบว่าของเล่นส่วนใหญ่เป็นของที่มีขายตามท้องตลาด ยกเว้น ในครอบครัวที่มีผู้สูงอายุด้วย จึงจะมีของเล่นที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง การเล่นโดยนำสิ่งของที่มีอยู่ตามธรรมชาติ หรือในท้องถิ่นมาใช้ ไม่ค่อยพบ เด็กมีการเล่นคล้ายคลึงกับเด็กกรุงเทพฯ และคุ้นเคยกับของเล่น

Keywords: เด็ก, จิตเวชเด็ก, child, child psychiatry

ปีที่เผยแพร่/Year: 2542

Address: โรงพยาบาลราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 310420000014

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: นิพนธ์ต้นฉบับ

Download: -