ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ณรงค์ ปวีณเวชวสุ

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษาผลการตรวจศพผู้ป่วยจิตเวชที่เสียชีวิตในโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา พ.ศ. 2520 - 2530

แหล่งที่มา/Source: เอกสารการวิจัย พ.ศ. 2539

รายละเอียด / Details:

งานวิจัยเรื่องนี้นับเป็นครั้งแรกของโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา ที่ได้รวบรวมและวิเคราะห์หาพยาธิสภาพของสมองและสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยจิตเวชจากผลการตรวจศพผู้ป่วยที่เสียชีวิตในโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 - 2530 ข้อมูลทั้งหมดได้จากบันทึกรายงานผลการตรวจศพของประสาทพยาธิแพทย์และทะเบียนประวัติผู้ป่วยที่เสียชีวิต รวม 70 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยจิตเภท 46 ราย (คิดเป็นร้อยละ 65.7) ส่วนผู้ป่วยที่เหลือได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคทางจิตเวชชนิดอื่น ๆ ผลการศึกษามีดังนี้ สาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยจิตเวชมีสาเหตุจากโรคหัวใจ และโรค degenerative brain diseases อย่างละ 9 ราย vascular brain diseases 6 ราย specific brain diseases 6 ราย อุบัติเหตุของสมอง 5 ราย โรคติดเชื้อในสมอง 5 ราย โรคติดเชื้อในปอด 5 ราย สาเหตุไม่แน่ชัด 4 ราย การอุดตันทางเดินหายใจ 3 ราย โรค pulmonary emboli, pulmonary edema, septicemia และฆ่าตัวตายอย่างละ 2 ราย ที่เหลือเป็นสาเหตุการเสียชีวิต อย่างละ 1 ราย คือ thrombosis of internal carotid artery, lithium intoxication, Hodgkin lymphoma, hepatic encephalopathy, pyonephritis, drug side effect, metastatic carcinoma to brain, syncope, cerebral anoxia และ starvation. การวิจัยสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยก่อนการตรวจศพ มีบันทึกไว้ 30 ราย (จากทั้งหมด 70 ราย) ในจำนวนนี้เป็นการวินิจฉัยที่ถูกต้องตรงกับผลการตรวจศพ 11 ราย โรคต่าง ๆ ที่แพทย์วินิจฉัยได้ถูกต้องก่อนผู้ป่วยเสียชีวิตส่วนมากเป็นโรคที่ป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ ผู้ป่วย 6 ราย มีอาการคล้ายอาการทางจิตและได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคทางจิตเวช แต่โดยแท้จริง ผู้ป่วยมีพยาธิภาพในสมอง (Pitutitary adenoma 1 ราย, Hallervorden Spatz syndrome 2 ราย, Tuberous sclerosis 1 ราย, Hepatocerebral degeneratin (specific form) 1 ราย, Cerebral aneurysm 1 ราย) ผู้ป่วยรายที่เป็น Pituitary adenoma นั้น ถ้าแพทย์นึกถึงการวินิจฉัยแยกโรคของสมอง และตรวจร่างกายเพิ่มเติมจะสามารถวินิจฉัยโรคได้และส่งปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อรักษาผู้ป่วยได้ทันท่วงทีจะสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยไว้ได้ ผลการตรวจสมองของกลุ่มผู้ป่วยโรคจิตเภท ประสาทพยาธิแพทย์ได้บันทึกน้ำหนักของสมองและขนาดของ lateral ventricles ไว้ แต่ไม่มีกลุ่มควบคุมเพื่อเปรียบเทียบกันถ้าจะมีการศึกษาพยาธิสภาพของสมองผู้ป่วยจิตเภทในครั้งต่อไป จำเป็นต้องวางแผนการวิจัยให้รัดกุมรอบคอบยิ่งขึ้น

Keywords: autopsy, psychiatry, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์

ปีที่เผยแพร่/Year: 2539

Address: โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 317390000004

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: นิพนธ์ต้นฉบับ

Download: -