ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: สมสนุก พระอามาตย์, ชุลีวรรณ เพียรทอง, จำลองลักษณ์ จามรโชติ, จันทรา วิชย์โกวิท

ชื่อเรื่อง/Title: ทัศนคติของนักศึกษาพยาบาลต่อการพยาบาลจิตเวช

แหล่งที่มา/Source: เอกสารการวิจัย พ.ศ. 2536

รายละเอียด / Details:

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาทัศนคติของนักศึกษาพยาบาลต่อการพยาบาลจิตเวชและหาแนวทางพัฒนาคุณภาพ วิธีการสอนการพยาบาลจิตเวชภาคปฏิบัติให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น โดยการสุ่มตัวอย่างนักศึกษาพยาบาลชั้นที่ 4 หลักสูตรพยาบาลศาสตร์และผดุงครรภ์ และนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 หลักสูตรพยาบาลศาสตร์และผดุงครรภ์ (ต่อเนื่อง) ที่มาฝึกปฏิบัติงานการพยาบาลจิตเวชในโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นเลือกตอบ 5 ตัวเลือก เก็บข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามเป็นรายบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการคำนวณค่าความถี่และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. ทัศนคติของนักศึกษาพยาบาลต่อการพยาบาลจิตเวช มีดังนี้ คือ 1.1 ทัศนคติต่อบุคคลากรทีมรักษา พบว่านักศึกษาพยาบาลรู้สึกว่าได้รับความเป็นตัวเองและความร่วมมือจากบุคลากรทีมรักษามากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 54 และ 64 ตามลำดับ มีความเห็นว่าบุคลากรทีมรักษา มีความมั่นใจในการปฏิบัติงานมากคิดเป็นร้อยละ 73 บุคลากรทีมรักษาใช้ความรู้ทางวิชาการพยาบาลจิตเวชในการปฏิบัติงาน ในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 47 โดยที่พยาบาลวิชาชีพดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วยเหมาะสมปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 48 พยาบาลเทคนิคและเจ้าหน้าที่พยาบาล และผู้ช่วยเหลือคนไข้ดูแลเอาใจใส่เหมาะสมปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 53 และ 61 ตามลำดับ 1.2 ทัศนคติต่อการบริหารหน่วยผู้ป่วย พบว่าการจัดหน่วยรับผู้ป่วยเป็นหน่วยแรกรับ เร่งรัดบำบัดระยะยาวและการจัดหน่วยรับผู้ป่วยใหม่ จำนวน 4 หน่วย คือ จิตเวชชาย 1, จิตเวชชาย 2, จิตเวชหญิง 1 และประสาทวิทยา นั้น นักศึกษาพยาบาลคิดว่ามีความเหมาะสมมาก คิดเป็นร้อยละ 55 และ 59 ตามลำดับ 1.3 ทัศนคติต่อการจัดกิจกรรมในหน่วยผู้ป่วย พบว่านักศึกษาพยาบาลมีความเห็นว่ากิจกรรมในหน่วยผู้ป่วย มีประโยชน์ต่อผู้ป่วย มีความเหมาะสมต่อการรักษาพยาบาล และนักศึกษาพยาบาลได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมในระดับมากคิดเป็นร้อยละ 54, 59 และ 37 ตามลำดับ 1.4 ทัศนคติต่อการฝึกปฏิบัติงาน พบว่านักศึกษาพยาบาลคิดว่า ระดับความเหมาะสมของระยะเวลาในการฝึกปฏิบัติงาน คิดเป็นร้อยละ 41 ระดับการนำผลจากการฝึกปฏิบัติงาน การพยาบาลจิตเวชไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติการพยาบาลด้านอื่น ๆ และในชีวิตประจำวันได้มาก ร้อยละ 56 รวมทั้งคิดว่าได้รับความรู้ทางจิตเวชเพียงพอหากได้ปฏิบัติงานทางจิตเวชในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 53 ตลอดจนคิดว่าการปฏิบัติงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ และการสอน Clinical Teaching ขณะรับการฝึกปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 69 และ 44 ตามลำดับ และนักศึกษาพยาบาลมีความรู้สึกวิตกกังวลอยู่ในระดับปานกลางในขณะฝึกปฏิบัติงานบนหน่วยผู้ป่วย คิดเป็นร้อยละ 46 1.5 ทัศนคติต่อผู้ป่วยพบว่านักศึกษาพยาบาลมีความรู้สึกรังเกียจผู้ป่วยในระดับน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 33 มีความรู้สึกกลัวผู้ป่วยในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 32 และมีความรู้สึกสงสารผู้ป่วยในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 85 สำหรับความรู้สึกเฉย ๆ ต่อผู้ป่วยอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 32 2. นักศึกษาพยาบาลไม่พบปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงาน

Keywords: nurse, psychiatric nursing, attitude, ทัศนคติ, การพยาบาลจิตเวช, นักศึกษาพยาบาล

ปีที่เผยแพร่/Year: 2536

Address: โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 319360000026

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: นิพนธ์ต้นฉบับ

Download: -