ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: สมปอง เจริญวัฒน์, กรรณิกา ทับทิมพรรณ์, สุชัญญา เบญจวัฒนานนท์, ทับทิม ใบลี, รวมรัตน์ โชติประยูร

ชื่อเรื่อง/Title: สุขภาพจิตของเยาวชนในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ

แหล่งที่มา/Source: เอกสารวิจัยเรื่อง สุขภาพจิตของเยาวชนในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ พ.ศ. 2530

รายละเอียด / Details:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปัญหาสุขภาพจิตของเยาวชนในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ คณะผู้วิจัยได้แยกศึกษาตามตัวแปรที่อาจมีผลต่อสุขภาพจิตดังนี้ 1. สถานภาพทางการศึกษา 2. เพศ 3. ช่วงอายุ การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย ( Descriptive Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่เยาวชนในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ ซึ่งการเลือกตัวอย่าง นั้นจะเลือกโดยวิธีสุ่ม (Purposive Random Sampling) เยาวชนในโรงเรียนจำนวน 600 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างจากโรงเรียนต่าง ๆ ภายในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิและเยาวชนนอกโรงเรียนจำนวน 100 คน ได้โดยการสุ่มตัวอย่างจากแหล่งที่เยาวชนนอกโรงเรียนชอบไปชุมนุมกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามสุขภาพจิตชื่อ The Comprehensive Problem Behavior and Feeling Checklist ของ Marsella,A.J. and Sanborn, K.O. ซึ่งเรียบเรียง เป็นภาษาไทยโดยศูนย์สุขวิทยาจิต การวิเคราะห์ข้อมูล 1. ใช้ค่าร้อยละในการแจกแจงข้อมูลทั่วไป 2. ใช้ Z-test ในการทดสอบความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยของข้อมูลตัวแปรเชิงเดี่ยว 3. ใช้ F-test ในการทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่มีตัวแปรอิสระ 1 ตัว หรือมากกว่า ผลการวิจัย 1. ข้อมูลทั่วไป กลุ่มตัวอย่างเยาวชนนอกและในโรงเรียนส่วนมากเป็นผู้หญิงร้อยละ 57 และ 52.5 ตามลำดับ ส่วนชายมีร้อยละ 43 และ 47.5 ช่วงอายุของกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 12-25 ปี เยาวชนนอกโรงเรียนส่วนมากอายุ 18-20 ปี เยาวชนในโรงเรียนส่วนมากมีเพื่อนสนิทระหว่าง 1-3 คน ในขณะที่เยาวชนนอกโรงเรียนทั้งหญิงและชายไม่มีเพื่อนสนิทเลยมีร้อยละ 11.63 และ 15.80 ตามลำดับ เยาวชนส่วนมากไม่เสพสิ่งเสพติดยกเว้นเยาวชนชายนอกโรงเรียนดื่มสุราและสูบบุหรี่เป็นครั้งคราวร้อยละ 62.79 เยาวชนชายนอกโรงเรียนส่วนมากปรึกษาบุคคลอื่น ๆ (เพื่อน พี่ น้อง หรือแก้ปัญหาด้วยตัวเอง) ส่วนเยาวชนชายในโรงเรียนจะปรึกษาบิดามารดา และเยาวชนหญิงนอกโรงเรียนเมื่อมีปัญหาส่วนมากจะปรึกษาบิดา เยาวชนหญิงในโรงเรียนส่วนมากจะปรึกษามารดา ความสัมพันธ์ในครอบครัวส่วนมากรักใคร่กันดี อาชีพของบิดามารดาส่วนมากเป็นเกษตรกร สถานภาพของบิดามารดาของเยาวชนส่วนมากยังอยู่ด้วยกันรายได้โดยประมาณของบิดามารดาส่วนมากอยู่ระหว่าง 1000-3000 บาทต่อเดือน สภาพอยู่อาศัยของเยาวชนส่วนมากอยู่ในสภาพดีถึงปานกลาง 2. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูล 2.1 สถานภาพของเยาวชน พบดังนี้ ด้านการใช้ความคิด พบว่ามีความแตกต่างกันในด้านความถี่ ความรุนแรง และระยะเวลาของพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของเยาวชนนอกและในโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ด้านความผิดปกติทางกาย พบว่าไม่มีความแตกต่างกันในด้านความถี่ ความรุนแรงและระยะเวลาของพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของเยาวชนนอกและในโรงเรียน ด้านการดำรงชีวิต พบว่ามีความแตกต่างกันในด้านความถี่ ความรุนแรงและระยะเวลาของพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของเยาวชนนอกและในโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01, 0.01, และ 0.05 ตามลำดับ ด้านความผิดปกติทางอารมณ์ พบว่ามีความแตกต่างกันในด้านความรุนแรงของพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของเยาวชนนอกและในโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่ ไม่มีความแตกต่างกันในด้านความถี่ และระยะเวลา ด้านอารมณ์ พบว่าช่วงอายุของเยาวชนนอกและในโรงเรียนไม่มีความแตกต่างกันในด้านความถี่ ความรุนแรงและระยะเวลาของพฤติกรรมที่เป็นปัญหา ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล พบว่าช่วงอายุของเยาวชนนอกโรงเรียนและในโรงเรียนไม่มีความแตกต่างกันในด้านความถี่ ความรุนแรงและระยะเวลาของพฤติกรรมที่เป็น

Keywords: adolescence, adolescent, psychiatry, stress, ความเครียด, , เครียด, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, เยาวชน, วัยรุ่น

ปีที่เผยแพร่/Year: 2530

Address: โรงพยาบาลชัยภูมิ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข

Code: 321300000001

ISSN/ISBN: 0125-6985

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: นิพนธ์ต้นฉบับ

Download: -