ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ศรีวรรณ เอมราช

ชื่อเรื่อง/Title: ผลของการผ่อนคลายต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วยไตล้มเหลวเรื้อรังที่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องไตเทียม

แหล่งที่มา/Source: เอกสารการวิจัยเรื่อง ผลของการผ่อนคลายต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วยไตล้มเหลวเรื้อรังที่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องไตเทียม, พ.ศ. 2540

รายละเอียด / Details:

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองซึ่งสร้างจากกรอบแนวคิดทฤษฎีการปรับตัวของรอย เครื่องมือที่ได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 ท่าน และตรวจสอบความตรงตามโครงสร้างโดยหาความสัมพันธ์กับแบบประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของโรเซนเบอร์ก ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน เท่ากับ 0.74 หาความเที่ยงของเครื่องมือโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ 0.94 การเก็บรวบรวมข้อมูลของกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองกระทำ 2 ครั้ง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองก่อนการทดลอง และเก็บรวบรวมข้อมูลความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองภายหลังการทดลองในสัปดาห์ที่ 7 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการทดสอบที แบบ 2 กลุ่ม อิสระต่อกันที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ผู้ป่วยไตล้มเหลวเรื้อรังที่ได้รับการรักษาด้วยไตเทียมที่ได้รับการผ่อนคลายมีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองสูงกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการผ่อนคลายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของการผ่อนคลายต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วยไตล้มเหลวเรื้อรังที่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องไตเทียม โดยใช้กรอบแนวคิดตามทฤษฎีการปรับตัวของรอย และแนวคิดการผ่อนคลายของเบนสัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้ป่วยไตล้มเหลวเรื้อรังที่ได้รับการรักษาด้วยไตเทียม จำนวน 22 ราย ณ หน่วยไตเทียมโรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา โรงพยาบาลค่ายสุรนารี โรงพยาบาล ป.แพทย์ และโรงพยาบาลราชสีมาธนบุรี ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึง พฤษภาคม 2540 เลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนด แล้วแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มมีค่าเฉลี่ยของ อายุ จำนวนเพศชาย เพศหญิงใกล้เคียงกัน แล้วกำหนดกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองโดยการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ได้รับการฝึกการผ่อนคลาย กลุ่มควบคุมเป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับการฝึกการผ่อนคลาย การฝึกการผ่อนคลายใช้วิธีของ Benson’s Respiratory One Method โดย Guzzetta กลุ่มทดลองได้รับการสอนการฝึกการผ่อนคลาย 1 ครั้ง หลังจากนั้นผู้ป่วยทำการผ่อนคลายด้วยตนเองที่บ้านทุกวัน ๆ ละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 6 สัปดาห์

Keywords: psychiatry, relaxation, stress, เครียด, ความเครียด, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์

ปีที่เผยแพร่/Year: 2540

Address: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทบวงมหาวิทยาลัย

Code: 325400000035

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: นิพนธ์ต้นฉบับ

Download: -