ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ปณินันท์ สกุลทอง

ชื่อเรื่อง/Title: สัมพันธภาพในครอบครัวและสุขภาพจิตของวัยรุ่นที่บิดาเป็นโรคจิตพิษสุราเรื้อรัง , ศึกษาเฉพาะกรณีบุตรทหารในเขตกรุงเทพมหานคร

แหล่งที่มา/Source: เอกสารการวิจัย พ.ศ. 2531

รายละเอียด / Details:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ มุ่งที่จะศึกษาปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตของวัยรุ่นอายุ 13-21 ปี ที่บิดาเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังและรับราชการเป็นทหารในเขตกรุงเทพมหานคร โดยให้วัยรุ่นที่บิดาป่วยเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง 50 ราย และวัยรุ่นที่บิดาไม่ป่วยเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังอีก 50 ราย ตอบแบบสอบถาม ทำแบบวัดสัมพันธภาพในครอบครัวและแบบวัดสุขภาพจิตในช่วงเดือน มกราคม-มีนาคม 2531 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับลักษณะทางเศรษฐกิจสังคมของบิดา-มารดาและบุตรวัยรุ่น ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง แบบวัดสัมพันธภาพในครอบครัว ซึ่งผู้วิจัยแปลมาจาก (FAMILY ENVIRONMENT SCALE ของ MOOS AND MOOS และแบบวัดสุขภาพจิตในชุมชน PSYCHOLOGICAL WELL-BEING ของ PAUL L. BERKMAN ผลการศึกษาลักษณะสัมพันธภาพในครอบครัว พบว่า ในครอบครัวของวัยรุ่นที่บิดาเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังมีคะแนนเฉลี่ยของลักษณะสัมพันธภาพในครอบครัว ด้าน CONFLICT และ CONTROL มากกว่าครอบครัวของวัยรุ่นที่บิดาไม่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ ในด้าน COHESION, INTELLECTUAL CULTURAL ORIENTATION, ACTIVE RECREATIONAL ORIENTATION และ ORGANIZATION พบว่า ครอบครัววัยรุ่นที่บิดาไม่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่าครอบครัววัยรุ่นที่บิดาเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และในด้าน INDEPENDENCE พบว่า วัยรุ่นที่บิดาไม่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่าวัยรุ่นที่มีบิดาเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เกี่ยวกับสุขภาพจิตเด็กวัยรุ่นที่มีปัญหาสุขภาพจิต มาจากครอบครัวที่บิดาเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง (50%) มากกว่าเด็กวัยรุ่นที่มาจากครอบครัวที่บิดาไม่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง (8%) เมื่อหาความเสี่ยงโดยใช้ RELATIVE ODDS พบว่า เด็กวัยรุ่นที่มีบิดาเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิต มากกว่าเด็กวัยรุ่นที่บิดาไม่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง 11.5 เท่า มารดาวัยรุ่นที่มีปัญหาสุขภาพจิตมาจากครอบรัวที่บิดาเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง (60%) มากกว่า มารดาวัยรุ่นที่บิดาไม่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง (10%) เมื่อหาความเสี่ยงโดยใช้ RELATIVE ODDS พบว่า มารดาวัยรุ่นที่บิดาเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิต มากกว่ามารดาวัยรุ่นที่บิดาไม่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง 13.5 เท่า และในครอบครัวของผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง พบว่า วัยรุ่นที่มีมารดามีปัญหาสุขภาพจิตร่วมด้วย มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิต มากกว่าวัยรุ่นที่มีมารดาไม่มีปัญหาสุขภาพจิต 2.25 เท่า

Keywords: adolescence, adolescent, alcoholism, family, psychiatry, โรคพิษสุรา, , ครอบครัว, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, วัยรุ่น

ปีที่เผยแพร่/Year: 2531

Address: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ทบวงมหาวิทยาลัย

Code: 371310000014

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: นิพนธ์ต้นฉบับ

Download: -