ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ปทุมทิพย์ สุภานันท์

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษาเปรียบเทียบผู้ปกครองเด็กที่มีและไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต

แหล่งที่มา/Source: เอกสารการวิจัย พ.ศ. 2538

รายละเอียด / Details:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตในเด็ก โดยการเก็บข้อมูลจากผู้ปกครองเด็กนักเรียนชั้นประถมปีที่ 1-6 จำนวน 414 คน จากโรงเรียนพิบูลย์ประชาสรรค์ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม - 30 ธันวาคม 2533 พบว่าเป็นผู้ปกครองเด็กที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต จำนวน 184 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 230 คน ได้แก่ ผู้ปกครองเด็กนักเรียนที่ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตจากโรงเรียนเดียวกัน ผลการวิจัย ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 พบว่า ปัจจัยของผู้ปกครองที่มีความสัมพันธ์กับการมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตในเด็ก ได้แก่ 1. ระดับอายุของผู้ปกครอง : เด็กที่มีผู้ปกครองอายุต่ำกว่า 25 ปี เสี่ยงต่อการมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตมากกว่าเด็กที่มีผู้ปกครองอายุมากกว่า 25 ปี (อัตราเสี่ยง = 5.18, p = 0.0254, 95% CI = 1.01-50.50) 2. จำนวนสมาชิกในครอบครัวมากกว่า 5 คน เสี่ยงมากกว่าครอบครัวที่มีจำนวนสมาชิกน้อยกว่า 5 คน (อัตราเสี่ยง = 1.67, p = 0.0133, 95% CI = 1.11-2.51) 3. ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับผู้ปกครองเด็กที่ไม่สนิทสนมกับผู้ปกครองเสี่ยงมากกว่าเด็กที่สนิทสนมกับผู้ปกครองดี (อัตราเสี่ยง = 6.13, p = 6.6166x104, 95% CI = 1.95-25.25) 4. ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับบิดามารดา สัมพันธ์กับการมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตในเด็ก (p = 0.0374) 5. ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับญาติและผู้อุปการะ : เด็กที่ไม่สนิทสนมกับญาติและผู้อุปการะเสี่ยงต่อการมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตมากกว่าเด็กสนิทสนมกับญาติและผู้อุปการะ (อัตราเสี่ยง = 6.33, p = 0.0207, 95% CI = 1.28-60.55) 6. การปฏิบัติในการเลี้ยงดูของผู้ปกครองเด็กที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตและผู้ปกครองกลุ่มควบคุมแตกต่างกัน คือ - เรื่องการกินอยู่หลับนอนของเด็ก (p = 0.002) - การสนใจและตั้งใจฟัง เมื่อเด็กแจ้งผลการเรียนให้ทราบ (p = 0.015) - การให้กำลังใจ เมื่อผลการเรียนของเด็กไม่ดี (p = 0.018) - การให้กำลังใจเมื่อเด็กทำผิดพลาด (p = 0.014) - การอนุญาตให้ทำในสิ่งที่เด็กต้องการ (p = 0.016) - การอธิบายเหตุผลและสั่งสอนไปด้วยขณะทำโทษ (p = 0.005) - การลงโทษ โดยห้ามไม่ให้เล่นกับคนอื่น (p = 0.001) - การกวดขันเรื่องการแต่งกายเด็กให้ใช้สีและแบบที่ผู้ปกครองชอบ (p = 0.011) ส่วนปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์กับการมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตในเด็กได้แก่ การศึกษา อาชีพ ลักษณะการประกอบอาชีพ รายได้ของครอบครัว จำนวนบุตร ลักษณะครอบครัว สถานภาพสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดา การเลี้ยงดูแบบให้ความรัก แบบลงโทษและแบบเรียกร้องเอากับเด็ก

Keywords: child, child psychiatry, family, psychiatry, , psychology, เด็ก, โรงเรียน, ครอบครัว, จิตเวช, , จิตเวชเด็ก, จิตเวชศาสตร์, จิตวิทยา, ผู้ปกครอง

ปีที่เผยแพร่/Year: 2537

Address: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ทบวงมหาวิทยาลัย

Code: 371380000012

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: นิพนธ์ต้นฉบับ

Download: -