ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: นวลจันทร์ หลิ่วรุ่งเรื่อง

ชื่อเรื่อง/Title: ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติงานของผู้ร่วมงานจิตเวชต่องานจิตเวชในกรมการแพทย์

แหล่งที่มา/Source: เอกสารวิจัยเรื่อง ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติงานของผู้ร่วมงานจิตเวชต่องานจิตเวชในกรมการแพทย์ พ.ศ.2522

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อที่จะทราบทัศนคติของผู้บริหารงานสุขภาพจิตที่มีต่อผู้ร่วมงานจิตเวช ปัญหาการปฏิบัติงานของผู้ร่วมงานจิตเวชในด้านความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติงานทั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้บังคับบัญชา และสถาบันที่เกี่ยวข้องจะได้พิจารณาปรับปรุงแก้ไขต่อไป ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา ได้จากแบบสอบถามผู้ปฏิบัติงานจิตเวช ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารงานสุขภาพจิต จิตแพทย์ พยาบาลจิตเวช นักจิตวิทยาคลีนิค นักสังคมสงเคราะห์จิตเวช และนักอาชีวบำบัด สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 748 คนได้รับข้อมูลคืนมา 689 คน คิดเป็นร้อยละ 92.11 แล้วนำมาคำนวณหาร้อยละของแต่ละข้อมูลต่อกลุ่มวิชาชีพเดียวกันและต่างกลุ่มกัน ผลการศึกษา สรุปได้ว่า 1. อัตราส่วนของจิตแพทย์:พยาบาลจิตเวช:นักจิตวิทยาคลีนิค:นักสังคมสงเคราะห์จิตเวช:นักอาชีวบำบัด เท่ากับ 74:441:55:57:62 หรือเท่ากับ 1:6:1:1:1 โดยที่นักจิตวิทยาคลีนิค นักสังคมสงเคราะห์จิตเวช ยังมีจำนวนต่ำกว่าอัตราที่ควรจะเป็นตามที่กรมการแพทย์ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจิตแพทย์:พยาบาลจิตเวช:นักจิตวิทยาคลีนิค:นักสังคมสงเคราะห์จิตเวช ควรมีอัตราส่วนเท่ากัน 1:4:1:1 2. ผู้ร่วมงานจิตเวชส่วนมาก จิตแพทย์ และนักอาชีวบำบัดเป็นเพศชาย พยาบาลจิตเวช นักจิตวิทยาคลีนิค นักสังคมเคราะห์จิตเวชเป็นเพศหญิง มีความรู้จบตามสายวิชาชีพที่กำหนดไว้ 3. ผู้ร่วมงานจิตเวชส่วนมาก มีความรู้ก่อนเข้ามาปฏิบัติงานร้อยละ 73.28 แต่ยังไม่เพียงพอในการปฏิบัติงาน 4. ทัศนคติของผู้ร่วมงานจิตเวช ส่วนมากสนใจในงานจิตเวช และมีความพอใจร้อยละ 85.36 แต่ก็ยังมีความคิดที่จะเปลี่ยนงานร้อยละ 44.46 5. การปฏิบัติงานพบว่า พยาบาลจิตเวช นักจิตวิทยาคลีนิค นักสังคมสงเคราะห์จิตเวชและนักอาชีวบำบัด มีปัญหาด้านวิชาการที่นำมาใช้ในการปฏิบัติงาน จิตแพทย์และพยาบาลจิตเวชมีปัญหาเกี่ยวกับผู้ป่วย และญาติของผู้ป่วย 6. ผู้บริหารงานสุขภาพจิตให้ความยุติธรรม สนับสนุนผู้ร่วมงานจิตเวชในด้านความรู้ 7. ขวัญในการปฏิบัติงานดีพอสมควร และสวัสดิภาพได้รับโดยเฉลี่ยคนละ 2 อย่าง แต่ก็ยังไม่เพียงพอ ข้อเสนอแนะ ผู้ศึกษาได้ให้ข้อเสนอแนะเรื่องการศึกษาอบรมทั้งก่อน และระหว่างปฏิบัติงาน โดยขอให้จัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบในด้านวิชาการของแต่ละสาขาวิชาชีพขึ้น และให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของทุกวิชาชีพทุกครั้ง ในด้านสวัสดิการขอให้ส่งเสริมการจัดตั้งร้านค้าราคาถูก หรือ สหกรณ์ขึ้นภายในหน่วยงาน ด้านการบริหารงานบุคคลให้เพ่งเล็งเรื่องวิธีการจูงใจให้คนเข้ามารับราชการในวงการจิตเวชมากยิ่งขึ้น และหาทางกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานอยู่แล้ว สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ในด้านการปรับปรุง การแบ่งส่วนราชการ ผู้ศึกษาขอเสนอให้ยกฐานะกองสุขภาพจิตขึ้นเป็นกรม

Keywords: psychiatry, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, บริหาร, องค์กร

ปีที่เผยแพร่/Year: 2522

Address: คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทบวงมหาวิทยาลัย

Code: 372220000020

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: นิพนธ์ต้นฉบับ

Download: -