ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: วราภรณ์ แสงวัชร

ชื่อเรื่อง/Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวกับสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ, ศึกษาเฉพาะกรณี โรงพยาบาลเลิศสิน

แหล่งที่มา/Source: เอกสารวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ของภูมิหลังทางครอบครัวกับสุขภาพจิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตกรุงเทพมหานคร, พ.ศ. 2532

รายละเอียด / Details:

การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคม จากครอบครัวกับสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ โดยใช้วิธีสัมภาษณ์ผู้สูงอายุที่มารับบริการในคลินิกผู้สูงอายุของโรงพยาบาลเลิศสิน จำนวน 120 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นเอง และนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. สถานภาพทั่วไปของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุมีเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อายุระหว่าง 60-65 ปี คิดเป็นร้อยละ 45 มีสถานภาพสมรสคู่คิดเป็นร้อยละ 64.2 การศึกษาอยู่ในระดับการศึกษาชั้นประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 53.3 มีรายได้อยู่ระหว่าง 1,001-2,000บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 22.5 ผู้สูงอายุมีรายได้ประจำคิดเป็นร้อยละ 93 ซึ่งในจำนวนนี้มีรายได้ที่ได้รับประจำจากบุตรและญาติ คิดเป็นร้อยละ 71 ส่วนใหญ่มีรายได้เพียงพอคิดเป็นร้อยละ 65.2 หากไม่เพียงพอก็สามารถขอจากลูกหลานเพิ่มเติมคิดเป็นร้อยละ 70 ความต้องการในปัจจุบันผู้สูงอายุต้องการการเลี้ยงดูจากบุตรคิดเป็นร้อยละ 44.2 ที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่เป็นบ้านของตนเอง คิดเป็นร้อยละ 61.7 และร้อยละ 57.5 จะมีหน้าที่รับผิดชอบงานบ้านมากกว่า 1 ประเภทขึ้นไป โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 40 ช่วยทำงานบ้านและเฝ้าบ้าน 2. ผู้สูงอายุได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวในระดับดี คือ คิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 52.28 และแต่ละด้านของการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวก็พบว่า 2.1 ผู้สูงอายุได้รับการสนับสนุนด้านอารมณ์ในระดับดี คือคิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 33.06 2.2 ผู้สูงอายุได้รับการสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสารในระดับดี คือคิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 7.68 2.3 ผู้สูงอายุได้รับการสนับสนุนด้านสิ่งของในระดับดี คือคิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 11.54 3. สุขภาพจิตของผู้สูงอายุโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี คือคิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 112.52 แต่หากพิจารณารายด้านของสุขภาพจิตก็พบว่า 3.1 คะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับบุคคลอื่นอยู่ในระดับปานกลางคิดเป็น 24.25 3.2 คะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการควบคุมอารมณ์ให้มั่นคงอยู่ในระดับดี คิดเป็น 26.35 3.3 คะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการแก้ไขปัญหาชีวิตประจำวันอยู่ในระดับดี คิดเป็น 22.38 3.4 คะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคม อยู่ในระดับดีคิดเป็นร้อยละ 15.27 3.5 คะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพได้ดีกับผู้อื่นอยู่ในระดับดี คิดเป็น 24.26 4. การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวมีความสัมพันธ์กับสุขภาพจิตของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนในแต่ละด้านของการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว ก็พบว่า 4.1 การสนับสนุนด้านอารมณ์มีความสัมพันธ์กับสุขภาพจิตของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4.2 การสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสารมีความสัมพันธ์กับสุขภาพจิตของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4.3 การสนับสนุนด้านสิ่งของมีความสัมพันธ์กับสุขภาพจิตของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Keywords: family, geriatrics, psychiatry, social, ครอบครัว, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, ผู้สูงอายุ, สังคม

ปีที่เผยแพร่/Year: 2537

Address: เอกสารการวิจัย พ.ศ. 2537

Code: 372370000005

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: นิพนธ์ต้นฉบับ

Download: -