ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: กชกร ศรีสัมพันธ์

ชื่อเรื่อง/Title: บทบาทของสมาชิกครอบครัวที่มีต่อพฤติกรรมในการเผชิญปัญหาของคนพิการ

แหล่งที่มา/Source: เอกสารการวิจัยเรื่อง บทบาทของสมาชิกครอบครัวที่มีต่อพฤติกรรมในการเผชิญปัญหาของคนพิการ, พ.ศ. 2542

รายละเอียด / Details:

การศึกษาเรื่อง "บทบาทของสมาชิกครอบครัวที่มีต่อพฤติกรรมในการเผชิญปัญหาของคนพิการ" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของสมาชิกครอบครัวที่มีผลต่อพฤติกรรมในการเผชิญปัญหาของคนพิการ ในเรื่องสัมพันธภาพในครอบครัว และการสนับสนุนทางครอบครัวและสังคมแก่ผู้พิการ เพื่อประโยชน์ในการวางแนวทางพัฒนาการปฏิบัติงานเกี่ยวกับผู้พิการและครอบครัวได้อย่างเหมาะสม โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ ผู้พิการทางกายที่มีอายุระหว่าง 20-49 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มารับบริการ ณ.สาขากายอุปกรณ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จำนวน 60ราย กลุ่มที่ 2 คือ สมาชิกครอบครัวของผู้พิการในกลุ่มแรก ทั้งเพศชายและเพศหญิง จำนวน 60 รายการ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถามการสังเกต และการเยี่ยมบ้านเป็นกรณีศึกษา จำนวน 4 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรม SPSS (Statistical Package for social Science) ในการประมวลผลข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ของการกระจาย ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน เปรียบเทียบความแตกต่างด้วยค่า t-test และ Z-test และการวิเคาระห์ความแปรปรวนทางเดียว เพื่อทดสอบสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และการทดสอบแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของ Scheffe ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. การศึกษาด้านสัมพันธภาพในครอบครัว การสนับสนุนทางครอบครัวและสังคมและพฤติกรรมในการเผชิญปัญหาของคนพิการ พบว่าผู้พิการและสมาชิกครอบครัวมีความคิดเห็นความรู้สึก และพฤติกรรมเกี่ยวกับสัมพันธภาพในครอบครัวโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับที่ดีมาก โดยผู้พิการมีความรู้สึกที่ดีต่อคู่สมรส และมารดามากที่ รองลงมาได้แก่ บุตร ญาติพี่น้อง และบิดา ตามลำดับเกี่ยวกับบทบาทของสมาชิกครอบครัวในการสนับสนุนทางครอบครัวและสังคมนั้น ทั้งผู้พิการและสมาชิกครอบครัวมีความคิดเห็น ความรู้สึก และพฤติกรรมว่า ในส่วนของสมาชิกครอบครัวพบว่า ปัจจัยทางด้านสัมพันธภาพในครอบครัวและบทบาทของสมาชิกครอบครัวในการสนับสนุนทางครอบครัวและสังคมแก่ผู้พิการ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในการเผชิญปัญหาของคนพิการเช่นเดียวกัน ในส่วนของสมาชิกครอบครัวพบว่า ปัจจัยทางด้านสัมพันธภาพในครอบครัวและบทบาทของสมาชิกครอบครัวในการสนับสนุนทางครอบครัวและสังคมแก่ผู้พิการ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในการเผชิญปัญหาของคนพิการเช่นเดียวกัน จากผลการศึกษาครั้งนี้เป็นแนวทางให้พิจารณาได้ว่า นักสังคมสงเคราะห์พึงคำนึงถึงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบครอบครัว พื้นฐานความสัมพันธ์ภายในครอบครัวและโครงสร้างของครอบครัว ซึ่งสามารถประเมินความผาสุขของครอบครัวได้ รวมไปถึงการพิจารณการดำเนินบทบาทในครอบครัวของสมาชิกด้วย เพื่อช่วยให้นักสังคมสงเคราะห์สามารถมองเห็นและมีความเข้าใจในภาพรวมของระบบครอบครัวทั้งระบบ นอกจากนี้นักสังคมสงเคราะห์จำเป็นต้องมีการพัฒนาความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ ทั้งทางสังคมสงเคราะห์ และศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทราบแหล่งทรัพยากร (Resource) ทั้งในและนอกชุมชน ตลอดจนนโยบายและข้อจำกัดของหน่วยงาน รวมทั้งมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ เพิ่มพูนทักษะในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และพัฒนาเทคนิคในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ปรับใช้วิธีการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ด้วยวิธีการหนึ่ง หรือ หลายวิธีในลักษณะของการผสมผสาน Integrated Social Work Methods ตามความเหมาะสมของลักษณะปัญหา รวมถึงการปฏิบัติงานในการให้ความช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแนะนำต่าง ๆ แก่ผู้พิการและสมาชิกครอบครัวนั้น จำเป็นต้องมีการทำงานร่วมกับบุคลากรในวิชาชีพต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นลักษณะของสหวิชาชีพ ซึ่งนักสังคมสงเคราะห์เป็นต้องมีการประสานงานแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ รวมทั้งมีคุณสมบัติเปิดกว้างในการรับฟังความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์และ เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติอยู่ ทั้งนี้จะช่วยให้นักสังคมสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานมีโลกทัศน์และมุมมองที่กว้างขึ้น รวมทั้งเป็นการส่งเสริมความสามารถของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้มารับบริการ นอกจากนี้การปฏิบัติงานควรเน้นในเรื่องของการมีอัธยาศัยที่ดี แสดงออกถึงความจริงใจที่จะช่วยเหลือผู้พิการ และสมาชิกครอบครัวอย่างแท้จริง เพื่อสร้างความรู้สึกไว้วางใจอบอุ่น และผ่อนคลายความตึงเครียดทางอารมณ์และจิตใจของผู้พิการลงได้บ้าง ในด้านของการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานนั้น ควรมีการศึกษาในเชิงคุณภาพถึงพฤติกรรมในการเผชิญปัญหา ทั้งของผู้พิการและสมาชิกครอบครัว ในช่วงระยะเวลาต่าง ๆ หลังจากประสบกับความพิการ คือตั้งแต่ระยะวิกฤติจนถึงระยะที่สามารถปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลย์ได้แล้ว ทั้งนี้เพื่อศึกษารูปแบบและวิธีการที่ผู้พิการและสมาชิกครอบครัวใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิต การศึกษาวิจัยการใช้กระบวนการกลุ่มในการแก้ไขปัญหา การศึกษาวิจัยในระดับนโยบายเกี่ยวกับความพร้อมในการเตรียมการขององค์การสถาบัน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางด้านสาธารณสุข เพื่อรองรับนโยบายของกฎหมายคนพิการ เพื่อนำข้อมูลมาพิจารณาประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานให้สามารถทราบและมีความเข้าใจในข้อจำกัดและปัญหาต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย และการศึกษาวิจัยที่มีการขยายฐานการศึกษาสู่ระดับชุมชน เป็นสมาชิกครอบครัวมีบทบาทในการสนับสนุนทางครอบคัวและสังคม แก่ผู้พิการอยู่ในระดับที่ดีมาก โดยมีการสนับสนุนทางด้านอารมณ์และด้านการยอมรับอยู่ในระดับสูง สำหรับพฤติกรรมเผชิญปัญหาของผู้พิการนั้น พบว่าโดยเฉลี่ยผู้พิการส่วนใหญ่มักจะนิยมใช้พฤติกรรมการเผชิญปัญหาแบบแก้ไขตามปัญหาที่เกิดขึ้นมากกว่าการใช้พฤติกรรมการเผชิญปัญหาแบบควบคุมอารมณ์ 2. การศึกษาความสัมพันธระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ทั้งทางด้านประชากรเศรษฐกิจ สังคม อารมณ์และจิตใจ ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในการเผชิญปัญหาของคนพิการ 2.1. ปัจจัยทางด้านประชากร ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาลักษณะความพิการของผู้พิการ และบทบาทหรือตำแหน่งของสมาชิกในครอบครัวไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในการเผชิญปัญหาของคนพิการ ในขณะที่ปัจจัยด้านระยะเวลาที่ประสบความพิการของผู้พิการนั้น มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในการเผชิญปัญหาของคนพิการ ทั้งนี้สามารถอธิบายได้ว่า ระยะเวลาในการเจ็บป่วยหรือพิการนั้น ทำให้ผู้พิการมีโอกาสได้เรียนรู้การเผชิญปัญหาที่เหมาะสมและมีทักษะในการแก้ปัญหาได้ดีขึ้นตามระยะเวลาที่ผ่านพ้นไป 2.2. ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ในส่วนของผู้พิการพบว่า ปัจจัยทางด้านรายได้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในการเผชิญปัญหาของคนพิการ ทั้งนี้สามารถอธิบายได้ว่า ผู้พิการที่มีเศรษฐฐานะดีย่อมมีความพร้อมและมีโอกาสในการกระทำสิ่งต่าง ๆ สำหรับชีวิตได้มากกว่าผู้พิการที่มีเศรษฐานะยากจนในขณะที่ในส่วนของสมาชิกครอบครัวนั้นพบว่า ปัจจัยด้านอาชีพ และรายได้ไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในการเผชิญปัญหาของคนพิการ 2.3. ปัจจัยทางด้านสังคม อารมณ์ และจิตใจ ในส่วนของผู้พิการพบว่า ปัจจัยทางด้านความเชื่อ และการใช้ประสบการณ์ในอดีตในการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกัน ไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในการเผชิญปัญหาของคนพิการ ในขณะที่ปัจจัยทางด้านการยอบรับตนเอง สัมพันธภาพในครอบครัวและการได้รับการสนับสนุนทางครอบครัวและสังคมจากสมาชิกครอบครัว มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในการเผชิญปัญหาของคนพิการ ทั้งนี้สามารถอธิบายได้ว่า การยอมรับตนเอง หรือรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่านั้น เป็นพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยให้ผู้พิการมีกำลังใจกำลังกาย มีความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองซึ่งสามารถทำให้เกิดพัฒนาการแห่งการปรับตัวไปในทางที่ดีขึ้น มีความเข้มแข็งทางด้านจิตใจและสามารถช่วยเหลือตนเองรวมทั้งบุคคลรอบข้างได้อีกด้วยสำหรับสัมพันธภาพในครอบครัวและบทบาทของสมาชิกครอบครัวในการสนับสนุนทางครอบครัวและสังคมที่ดีนั้น เป็นเสมือนแรงเสริม (Reinforcement) ที่จะช่วยส่งเสริมความสามารถในการปรับตัวของผู้พิการและช่วยป้องกันผลร้ายที่เกิดจากสภาพปัญหาทางอารมณ์ต่าง ๆ อีกทั้งช่วยทำให้ผู้พิการสามารถประเมินภาวะที่คุกคามอยู่ให้มีความรุนแรงน้อยลง การกระตุ้นให้ความสำคัญ และใช้ศักยภาพของครอบครัวในชุมชนช่วยในการฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งทางร่ายกายและจิตใจแก่ผู้พิการ (Community Base Rehabilitation)

Keywords: ครอบครัว, คนพิการ, ผู้พิการ, สุขภาพจิต, พฤติกรรมเผชิญปัญหา, coping behavior, mental health

ปีที่เผยแพร่/Year: 2542

Address: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 372370000043

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: นิพนธ์ต้นฉบับ

Download: -