ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: เจิดหล้า สุนทรวิภาต

ชื่อเรื่อง/Title: ปัจจัยทางจิตสังคมเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม , ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างผู้ที่เป็นสมาชิกกลุ่มกับผู้ที่มิใช่เป็นสมาชิกกลุ่ม , การศึกษาเฉพาะกรณี

แหล่งที่มา/Source: เอกสารการวิจัย พ.ศ. 2526

รายละเอียด / Details:

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาลักษณะทางจิตและสังคมบางประการของผู้ที่เป็นสมาชิกกลุ่มสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกรว่าแตกต่างจากผู้ที่ไม่เป็นสมาชิกอย่างไร โดยได้มีการเปรียบเทียบปริมาณความรู้และทัศนคติต่อการเข้ารวมกลุ่มเหล่านี้ ตลอดจนความต้องการทางสังคม 4 ประเภท ระหว่างผู้ที่เข้ารวมกลุ่ม เพื่อหาความรู้ ซึ่งอาจจะนำไปใช้เป็นข้อเสนอแนะในการพัฒนาบุคคล พัฒนากลุ่มคนและพัฒนาประเทศสืบต่อไป วิธีวิจัยเป็นแบบการศึกษาภาคสนาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ ชาวบ้านผู้เป็นสมาชิกกลุ่มสหกรณ์ชาวนาและกลุ่มเกษตรกรชาวนากับผู้ไม่เป็นสมาชิกกลุ่มทางเศรษฐกิจ จำนวนประเภทละ 100 คน รวมทั้งสิ้น 200 คน จาก 5 หมู่บ้านในตำบลช่อแล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2521 ซึ่งคนสองประเภทนี้ เป็นชายประกอบอาชีพเกษตรกรรมและมีการศึกษาส่วนใหญ่จบชั้นประถมปีที่ 4 คล้ายคลึงกัน การเก็บรวบรวมข้อมูลกระทำโดยใช้แบบสัมภาษณ์ เพื่อวัดลักษณะต่างๆ ของผู้ถูกศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่การทดสอบด้วยค่าไคสแควร์ ค่าที และค่าเอฟ รวมทั้งค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ คือ ผู้ที่เป็นสมาชิกกลุ่มทางเศรษฐกิจ เป็นผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีกว่า ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ คือ กลุ่มมากกว่า และมีทัศนคติที่ดีต่อกลุ่มมากกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก ส่วนในการพิจารณาตัวแปรพร้อมกันทีละ 3 ตัวนั้น ปรากฏว่า ในหมู่ผู้มีฐานะต่ำนั้น ผู้ที่เป็นสมาชิกมีความรู้เกี่ยวกับกลุ่มและมีทัศนคติต่อกลุ่มมากกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกอย่างเด่นชัด แต่ในหมู่ผู้มีฐานะสูงนั้น ผู้เป็นสมาชิกแตกต่างจากผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกในเรื่องทัศนคติต่อกลุ่มเท่านั้น ส่วนการศึกษาความต้องการทางสังคม 4 ด้าน ตามทฤษฎีของมาสโลว์นั้น ปรากฏผลว่า ผู้เป็นสมาชิกกลุ่มทางเศรษฐกิจมีความต้องการทางสังคม 3 ด้าน คือ ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย ความต้องการเกียรติและความต้องการความเป็นจริงแห่งตนสูงกว่าผู้ไม่เป็นสมาชิก ส่วนผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกมีความต้องการพวกพ้องสูงกว่าผู้ที่เป็นสมาชิก นอกจากนี้ยังปรากฏหลักฐานในการวิจัยนี้ว่า ผู้ที่มีฐานะต่ำไม่ว่าจะเป็นสมาชิกหรือไม่ก็ตาม มีความต้องการพวกพ้องสูงกว่าผู้มีฐานะสูงเป็น ส่วนใหญ่หมู่ผู้มีฐานะสูงผู้ที่มีความรู้เรื่องกลุ่มทางเศรษฐกิจมาก ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกหรือไม่ก็ตาม มีความต้องการพวกพ้องสูงกว่าผู้ที่มีความรู้น้อย การวิจัยนี้ให้ผลที่สามารถใช้เสนอแนะวิธีการชักจูงชาวบ้านให้เข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มทางเศรษฐกิจให้มากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น ผลการวิจัยนี้ยังชี้ให้เห็นแนวทางในการปรับปรุงกลุ่มทางเศรษฐกิจ ให้เป็นประโยชน์โดยตรงต่อผู้เป็นสมาชิกให้มากยิ่งขึ้นด้วย

Keywords: group, psychiatry, psychology, social, กลุ่ม, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, จิตวิทยา, สังคม

ปีที่เผยแพร่/Year: 2526

Address: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทบวงมหาวิทยาลัย

Code: 373260000013

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: นิพนธ์ต้นฉบับ

Download: -