ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: นัยนา รัตนมาศทิพย์

ชื่อเรื่อง/Title: ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวของรอเจอร์ที่มีต่อการลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยมะเร็งเพศหญิงในช่วงการรับรังสีรักษา.

แหล่งที่มา/Source: เอกสารการวิจัย พ.ศ. 2531

รายละเอียด / Details:

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวของรอเจอร์ที่มีต่อการลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยมะเร็งเพศหญิงในช่วงการรับรังสีรักษา โดยมีสมมติฐานว่าความวิตกกังวลของผู้ป่วยมะเร็งเพศหญิงในช่วงการรับรังสีรักษาจะลดลงหลังจากการมีส่วนร่วมในการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งเพศหญิงในช่วงการรับรังสีรักษา ซึ่งพักรักษาตัวอยู่ที่สถานพักฟื้นผู้ป่วยมะเร็งของสมาคมต่อต้านโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งสมัครใจเข้าร่วมในการวิจัยจำนวน 8 คน โดยมีคะแนนในแบบวัดความวิตกกังวลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้คะแนนบวก 0.5 S.D. ขึ้นไปของค่าเฉลี่ยของกลุ่มผู้ป่วยทั้ง 8 คน เข้ารับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม เป็นเวลาต่อเนื่อง 3 วัน รวมเวลาที่ใช้ในการเข้ากลุ่มการวิจัยนี้ใช้วิธีการทดลองโดยใช้แบบวิจัยชนิดกลุ่มเดียว แบบวัดก่อนและหลัง (one-group pretest-posttest experimental design) ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยทดสอบความแตกต่างของคะแนนรวมในครั้งทดสอบก่อนการทดลอง และคะแนนรวมครั้งทดสอบหลังการทดลองโดยใช้การทดสอบค่า ที ผลการวิจัยปรากฏว่า ความวิตกกังวลของผู้ป่วยมะเร็งเพศหญิงในช่วงการรับรังสีรักษาที่ได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 : ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาเป็นกลุ่มแบบโฮลิสติคต่อการลดความวิตกกังวลของนักศึกษาพยาบาลและผดุงครรภ์ (EFFECTS OF HOLISTIC GROUP COUNSELING ON THE REDUCTION OF ANXIETY OF MIDWIFFRY NURSING STUDENTS) การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาผลของการปรึกษาเชิงจิตวิยาเป็นกลุ่มแบบโฮลิสติคต่อการลดความวิตกกังวลของนักศึกษาพยาบาลและผดุงครรภ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลและผดุงครรภ์จำนวน 16 คน ที่กำลังศึกษาภาคปฏิบัติการพยาบาลและผดุงครภ์ และทำแบบวัด STAI ได้คะแนนอยู่ระหว่าง S.X. ของคะแนนเฉลี่ยของกลุ่ม โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 8 คน กลุ่มควบคุม 8 คน ผู้วิจัยใช้รูปแบบการทดลองแบบกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองและทดสอบก่อนหลังโดยให้กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาเป็นกลุ่มแบบโฮลิสติค เป็นเวลาต่อเนื่อง 3 วัน 2 คืน รวมเวลาที่ใช้ในการเข้ากลุ่ม 30 ชั่วโมง ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้เข้ากลุ่ม แล้วผู้วิจัยนำกลุ่มตัวอย่างที่ทำแบบวัดความวิตกกังวลก่อนการทดลองทั้งหมดทำซ้ำ ในระยะหลังการทดลองอีกครั้งในวันรุ่งขึ้นถัดจากวันสิ้นสุดกลุ่ม ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของความวิตกกังวล ในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลองด้วยการทดสอบค่าที (t-test) พบว่า กลุ่มทดลองสามารถลดความวิตกกังวลได้มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Keywords: counselling, counseling, group, psychology, stress, เครียด, , กลุ่ม, ความเครียด, จิตวิทยา, สตรี

ปีที่เผยแพร่/Year: 2531

Address: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทบวงมหาวิทยาลัย

Code: 374310000066

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: นิพนธ์ต้นฉบับ

Download: -