ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ประทีป จินงี่

ชื่อเรื่อง/Title: การเปรียบเทียบผลของการเสริมแรงตนเองต่อพฤติกรรมตั้งใจเรียนและการเสริมแรงตนเองต่อผลการสอบย่อย ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.

แหล่งที่มา/Source: เอกสารการวิจัย พ.ศ. 2531

รายละเอียด / Details:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการเสริมแรงตนเองต่อพฤติกรรมตั้งใจเรียนและการเสริมแรงตนเองต่อผลการสอบย่อย ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนกลุ่มที่มีการเสริมแรงตนเองต่อพฤติกรรมตั้งใจเรียน และนักเรียนกลุ่มที่มีการเสริมแรงตนเองต่อผลการสอบย่อยมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาภาษาไทยสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนกลุ่มที่มีการเสริมแรงตนเองต่อผลการสอบย่อยและนักเรียนกลุ่มที่มีการเสริมแรงตนเองต่อพฤติกรรมตั้งใจเรียน มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาภาษาไทยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนกลุ่มที่มีการเสริมแรงตนเองต่อพฤติกรรมตั้งใจเรียนและนักเรียนกลุ่มที่มีการเสริมแรงตนเองต่อผลการสอบย่อย มีคะแนนการสอบย่อยสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมในระยะทดลองและระยะติดตามผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ในระยะทดลองนักเรียนกลุ่มที่มีการเสริมแรงตนเองต่อผลการสอบย่อยมีคะแนนการสอบย่อยสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่มีการเสริมแรงตนเองต่อพฤติกรรมตั้งใจเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนในระยะติดตามผลนั้น นักเรียนกลุ่มที่มีการเสริมแรงตนเองต่อพฤติกรรมตั้งใจเรียนมีคะแนนการสอบย่อยสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่มีการเสริมแรงตนเองต่อผลการสอบย่อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. นักเรียนกลุ่มที่มีการเสริมแรงตนเองต่อพฤติกรรมตั้งใจเรียนและนักเรียนกลุ่มที่มีการเสริมแรงตนเองต่อผลการสอบย่อยมีพฤติกรรม ตั้งใจเรียนสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมในระยะทดลองและระยะติดตามผล 6. นักเรียนกลุ่มที่มีการเสริมแรงตนเองต่อพฤติกรรมตั้งใจเรียนมีพฤติกรรมตั้งใจเรียนสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่มีการเสริมแรงตนเองต่อผลการสอบ ย่อยในระยะทดลองและระยะติดตามผล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม จำนวน 15 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 1 กลุ่มทดลอง 2 และกลุ่มควบคุม ซึ่งทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตพฤติกรรม งานวิจัยนี้ใช้การวิจัยแบบกลุ่มควบคุมทดสอบก่อนหลังการทดลองและติดตามผล เมื่อสิ้นสุดระยะการทดลองให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

Keywords: child, psychiatry, psychology, เด็ก, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, จิตวิทยา

ปีที่เผยแพร่/Year: 2531

Address: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทบวงมหาวิทยาลัย

Code: 374310000089

ISSN/ISBN: 974-578-272-6

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: นิพนธ์ต้นฉบับ

Download: -