ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: กิติยา จำรัสเลิศสัมฤทธิ์

ชื่อเรื่อง/Title: สุขภาพจิตและปัญหาการเรียนของนิสิตแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แหล่งที่มา/Source: เอกสารการวิจัย พ.ศ. 2535

รายละเอียด / Details:

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและสำรวจปัญหาสุขภาพจิตของนิสิตแพทย์ว่ามีความสัมพันธ์กับปัญหาการเรียนหรือไม่ กลุ่มประชากรที่ศึกษาเป็นนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 1-3 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นิสิตแพทย์ที่ตอบแบบสอบถามมีจำนวน 296 คน คิดเป็นร้อยละ 70.74 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามทั่วไปและแบบสอบถาม SCL-90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS ทดสอบค่า Chi-Square และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สรุปผลได้ดังนี้ 1. นิสิตแพทย์ที่มีปัญหาการเรียนมีปัญหาสุขภาพจิต ด้านความรู้สึกซึมเศร้า และความคิดหวาดระแวงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นิสิตแพทย์ที่มีปัญหาสุขภาพจิตตั้งแต่ 1 ด้านขึ้นไป มีจำนวน 45 คน (15.20%) เป็นชาย 30 คน เป็นหญิง 15 คน 3. การย้ำคิดย้ำทำ พบมากที่สุดในนิสิตแพทย์ มีจำนวน 27 คน (9.02%) รองลงมาคือความรู้สึกซึมเศร้าและอาการของโรคจิต มีจำนวนอย่างละ 17 คน (5.74%) 4. นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 1 มีการย้ำคิดย้ำทำมากกว่านิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 2 และ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5. นิสิตแพทย์ที่มีอายุน้อยมีการย้ำคิดย้ำทำมากกว่านิสิตแพทย์ที่มีอายุมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6. นิสิตแพทย์ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในต่างจังหวัดมีการย้ำคิดย้ำทำ ความรู้สึกซึมเศร้า ความมุ่งร้ายไม่เป็นมิตรและความคิดหวาดระแวงมากกว่านิสิตแพทย์ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 7. นิสิตแพทย์ชายมีปัญหาสุขภาพจิตในด้านอาการของโรคจิต มากกว่านิสิตแพทย์หญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 8. บรรยากาศในครอบครัวมีความสัมพันธ์กับความคิดหวาดระแวง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 9. บรรยากาศในครอบครัวและความสัมพันธ์ของนิสิตแพทย์กับสมาชิกในครอบครัวมีความสัมพันธ์กับความรู้สึกซึมเศร้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 10. นิสิตแพทย์ที่ได้รับค่าใช้จ่ายน้อย (ต่ำกว่า 2,000 บาท) ในแต่ละเดือนพบว่ามีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความสัมพันธ์กับความกลัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Keywords: สุขภาพจิต, นักศึกษาแพทย์, นิสิตแพทย์, แพทย์, mental health

ปีที่เผยแพร่/Year: 2535

Address: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทบวงมหาวิทยาลัย

Code: 374350000020

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: นิพนธ์ต้นฉบับ

Download: -