ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: จันทร็เพ็ญ อินทร์ไชยา

ชื่อเรื่อง/Title: ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิดพิจารณาตามความเป็นจริงต่อการลดความเครียดในขณะฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

แหล่งที่มา/Source: เอกสารวิจัยเรื่องผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิดพิจารณาตามความเป็นจริงต่อการลดความเครียดในขณะฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยขอนแก่น , พ.ศ.2536

รายละเอียด / Details:

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิดพิจารณาความเป็นจริงต่อการลดความเครียดในขณะฝึกปฏิบัติงานของนักศึกพยาบาล ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยขอนแก่นปีการศึกษา 2536 โดยมีสมมติฐานการวิจัย คือ (1) นักศึกษาที่เข้ารับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม จะมีคะแนนความเครียดในด้านคุกคามต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมกลุ่ม (2) นักศึกษาที่เข้ารับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม จะมีคะแนนความเครียดในด้านท้าทายสูงกว่าก่อนการเข้ารับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม (3) นักศึกษาที่เข้ารักการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบบกลุ่ม จะมีคะแนนความเครียดในด้านคุกคามต่ำกว่า นักศึกษาที่ไม่ได้เข้ารับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม (4) นักศึกษาที่เข้ารับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มจะมีคะแนนความเครียดในด้านท้าทายสูงกว่านักศึกษาที่ไม่ได้เข้ารับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกพยาบาลชั้นปีที่ 2 จำนวน 16 คัดเลือกโดยอาจารย์นิเทศก์ประจำหอผู้ป่วยของคณะพยาบาลศาสตร์ตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนด จากนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ที่อยู่ระหว่างการฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยจำนวน 75 คน กลุ่มตัวอย่างแยกเป็นกลุ่มทดลอง 8 คน กลุ่มควบคุม 8 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโปรแกรมปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิดพิจารณาตามความเป็นจริง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมงเป็นเวลา 5 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามความเครียดในการฝึกปฏิบัติงาน ซึ่งผู้วิจัยแปลจากแบบสอบถามความเครียดในการฝึกปฏิบัติงานของ Pagana วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนความเครียดด้วยวิธีการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) นักศึกษาที่เข้ารับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มมีคะแนนความเครียดในด้านคุกคามต่ำกว่าก่อนการเข้ารับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) นักศึกษาที่เข้ารับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม มีคะแนนความเครียดในด้านท้าทายสูงกว่าก่อนการเข้ารับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) นักศึกษาที่เข้ารับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม มีคะแนนความเครียดในด้านคุกคามต่ำกว่านักศึกษาที่ไม่ได้เข้ารับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 (4) นักศึกษาที่เข้ารับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มมีคะแนนความเครียดในด้านท้าทายไม่แตกต่างจากนักศึกษาที่ไม่ได้เข้ารับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Keywords: counselling, counseling, group, nurse, psychiatric nursing, psychology, stress, ปรึกษา, เครียด, กลุ่ม, ความเครียด, การพยาบาลจิตเวช, การปรึกษา, จิตเวชศาสตร์, จิตวิทยา, พยาบาล, นักศึกษาพยาบาล

ปีที่เผยแพร่/Year: 2536

Address: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทบวงมหาวิทยาลัย

Code: 374360000097

ISSN/ISBN: 974-584-623-6

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: นิพนธ์ต้นฉบับ

Download: -