ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: จิว เชาว์ถาวร

ชื่อเรื่อง/Title: ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบรายบุคคลตามแนวโรเจอร์สต่อวิธีการเผชิญความเครียดของมารดาที่มีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมีย.

แหล่งที่มา/Source: เอกสารการวิจัย พ.ศ. 2539

รายละเอียด / Details:

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบรายบุคคลตามแนวโรเจอร์สต่อวิธีการเผชิญความเครียดของมารดาที่มีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมีย โดยมีสมมติฐานว่า (1) หลังการทดลองมารดาที่มีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียที่ได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบรายบุคคลตามแนวโรเจอร์สจะมีคะแนนการเผชิญความเครียดแบบเผชิญหน้ากับปัญหา และแบบมุ่งแก้ปัญหาทางอ้อมสูงกว่าก่อนได้รับการปรึกษา และมีคะแนนการเผชิญความเครียดแบบมุ่งลดอารมณ์ตึงเครียดต่ำกว่าก่อนได้รับคำปรึกษา (2) หลังการทดลองมารดาที่มีบุตรเป็นธาลัสซีเมียที่ได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบรายบุคคลตามแนวโรเจอร์สจะมีคะแนนการเผชิญความเครียดแบบเผชิญความเครียดแบบมุ่งลดอารมณ์ตึงเครียดต่ำกว่ามารดาที่ไม่ได้รับการปรึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม ทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (Pretest-Posttest Control Group Design) กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาที่พาบุตรซึ่งป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมียมารับการรักษาที่คลินิคกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช และได้รับคะแนนการเผชิญความเครียดแบบเผชิญหน้ากับปัญหา และแบบมุ่งแก้ปัญหาทางอ้อมต่ำกว่าค่ากลาง (mid point) และมีคะแนนการเผชิญความเครียดแบบมุ่งลดอารมณ์ตึงเครียดสูงกว่าค่ากลาง (mid point) สมัครใจเข้าร่วมการวิจัยจำนวน 24 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 12 คน และกลุ่มควบคุม 12 คน กลุ่มทดลองได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบรายบุคคลตามแนวโรเจอร์สเป็นเวลา 3 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละประมาณ 1 ชั่วโมง รวมเวลาที่มาร่วมการทดลองรายละประมาณ 6 ชั่วโมง โดยผู้วิจัยเป็นนักจิตวิทยาการปรึกษาและเป็นผู้ให้ความรู้ด้วยตนเองทั้งสองกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์วิธีการเผชิญความเครียด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. หลังการทดลองมารดาที่มีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียที่ได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบรายบุคคลตามแนวโรเจอร์สมีคะแนนการเผชิญความเครียดแบบเผชิญหน้ากับปัญหา และแบบมุ่งแก้ปัญหาทางอ้อมสูงกว่าก่อนได้รับการปรึกษา และมีคะแนนการเผชิญความเครียดแบบมุ่งลดอารมณ์ตึงเครียดต่ำกว่า ก่อนได้รับการปรึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. หลังการทดลองมารดาที่มีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียที่ได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบรายบุคคลตามแนวโรเจอร์สมีคะแนนการเผชิญความเครียดแบบเผชิญหน้ากับปัญหา และแบบมุ่งแก้ปัญหาทางอ้อมสูงกว่ามารดาที่ไม่ได้รับการปรึกษา และมีคะแนนการเผชิญความเครียดแบบมุ่งลดอารมณ์ตึงเครียดต่ำกว่ามารดาที่ไม่ได้รับการปรึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Keywords: การปรึกษา, การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบรายบุคคล, ปรึกษา, การเผชิญความเครียด, ความเครียด, psychotherapy, counseling, counselling, stress, coping stress

ปีที่เผยแพร่/Year: 2539

Address: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทบวงมหาวิทยาลัย

Code: 374390000056

ISSN/ISBN: 974-636-187-2

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: นิพนธ์ต้นฉบับ

Download: -