ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: สุวพักตร์ เวศม์วิบูลย์

ชื่อเรื่อง/Title: สภาวะทางจิตสังคมของเด็กหญิงที่ถูกทารุณกรรมทางเพศ ในศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กและมูลนิธิคุ้มครองเด็ก.

แหล่งที่มา/Source: เอกสารการวิจัยเรื่อง สภาวะทางจิตสังคมของเด็กหญิงที่ถูกทารุณกรรมทางเพศ ในศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กและมูลนิธิคุ้มครองเด็ก, พ.ศ. 2539

รายละเอียด / Details:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะสภาพครอบครัว สภาพจิตใจของเด็กที่ถูกทารุณกรรมทางเพศ รวมทั้งกลไกของการทารุณกรรมทางเพศต่อเด็ก โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก เด็กหญิงที่ถูกทารุณกรรมทางเพศที่อาศัยอยู่ในศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก และมูลนิธิคุ้มครองเด็ก จำนวนทั้งสิ้น 10 ราย ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุตั้งแต่ 10 ปี 8เดือน ถึง 16 ปี ลักษณะครอบครัวมีปัญหาทางจิตสังคมหลายประการ เช่น ครอบครัวแตกแยก บิดามารดาแยกทาง ความสัมพันธ์ในครอบครัวไม่ดี และมีการใช้ความรุนแรงในครอบครัว เด็กส่วนใหญ่ถูกส่งไปให้ญาติหรือบุคคลที่บิดามารดารู้จักเป็นผู้เลี้ยงดู สภาพจิตใจของเด็กภายหลังจากถูกทารุณกรรมทางเพศ พบว่า เด็กมีปัญหาด้านอารมณ์เป็นลักษณะเด่น คือ มีความวิตกกังวล อารมณ์เศร้า มีความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองต่ำ และจำนวน 9 ราย มีความคิดฆ่าตัวตายหรือต้องการฆ่าตัวตาย นอกจากนั้นยังแสดงปัญหาด้านพฤติกรรมเกเรต่อต้านสังคม ขาดสมาธิ พฤติกรรมถดถอย พัฒนาการทางเพศผิดปกติ ปัญหาด้านการสร้างสัมพันธภาพ และปัญหาการเรียน เด็กทั้งหมดมีความคิดเห็นเชิงบวกต่อการศึกษา แต่จำนวนถึง 6 ราย มีความคิดเห็นเชิงลบต่อการแต่งงาน กรณีศึกษาถูกทารุณกรรมทางเพศครั้งแรกเมื่ออายุระหว่าง 6 ถึง 14 ปี เป็นระยะเวลานานตั้งแต่ 3 เดือน ไปจนถึง 7 ปี เด็กส่วนใหญ่ถูกทารุณกรรมทางเพศโดยคนในครอบครัวหรือคนรู้จัก จำนวนครึ่งหนึ่งของผู้กระทำเป็น บิดา หรือ บิดาเลี้ยง รองลงมาเป็นญาติ และผู้เลี้ยงดู ผู้กระทำมักใช้กำลังข่มขู่หรือบังคับลักษณะของการทารุณกรรมทางเพศเป็นแบบการมีเพศสัมพันธ์กับเด็ก

Keywords: ทารุณกรรมทางเพศ, เด็กหญิง, สุขภาพจิต, จิตวิทยา, สังคม, เพศ, child abuse, psychology, mental health

ปีที่เผยแพร่/Year: 2539

Address: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทบวงมหาวิทยาลัย

Code: 374390000128

ISSN/ISBN: 974-635-867-7

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: นิพนธ์ต้นฉบับ

Download: -