ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: รัชนีบูล เศรษฐภูมิรินทร์, จินตนา ตั้งวรพงศ์ชัย

ชื่อเรื่อง/Title: ความเครียดของนักศึกษาพยาบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

แหล่งที่มา/Source: เอกสารการวิจัยเรื่อง ความเครียดของนักศึกษาพยาบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, พ.ศ.2534

รายละเอียด / Details:

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดของนักศึกษาพยาบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต และประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์ที่กำลังศึกษาในชั้นปีที่ 2,3 และ 4 ปีการศึกษา 2538 จำนวน 5 สถาบันของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุขจำนวน ทั้งสิ้น 975 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง แบบสำรวจความเครียด (Health Opinion Survey) ของ Allister M. Macmllian (1957) และแบบสอบถามปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดของนักศึกษาพยาบาลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และนำเครื่องมือมาปรับปรุงแก้ไขตามข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ จากนั้นนำไปทดลองใช้กับนักศึกษาพยาบาลที่มีลักษณะคล้ายกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน คำนวณหาสัมประสิทธ์ความเที่ยงของแบบสำรวจความเครียดได้ 0.82 และแบบสอบถามปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดของนักศึกษาพยาบาลได้ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความเครียดอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 83.87 มีความเครียดอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 16.13 ส่วนนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม วิทยาลัยพยาบาลพระบรมราชชนนีนครราชสีมา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์ มีความเครียดอยู่ในระดับต่ำทั้งสิ้นคิดเป็นร้อยละ 100 2. ความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลทั้ง 4 สถาบัน พบว่าคะแนนเฉลี่ยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.0000 ทั้งปัจจัยด้านการเรียนการสอนภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ ด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและด้านสิ่งแวดล้อม โดยนักศึกษาพยาบาลคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดสูงสุดคือปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม รองลงมาคือปัจจัยด้านการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ ภาคทฤษฎี และปัจจัยด้านสัมพันธภาพ ระหว่างบุคคล ตามลำดับ ส่วนนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลทั้ง 4 สถาบัน ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดสูงสุด คือปัจจัยด้านการเรียนการสอนภาคทฤษฎี รองลงมาคือปัจจัยด้านการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสัมพันธ์ภาพระหว่างบุคคล ตามลำดับ 3. นักศึกษาพยาบาลคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย กับนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลทั้ง 4 สถาบัน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีคะแนนเฉลี่ยความเครียดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Keywords: เครียด, ความเครียด, นักศึกษาพยาบาล, student nurse, stress, nurse

ปีที่เผยแพร่/Year: 2534

Address: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทบวงมหาวิทยาลัย

Code: 375340000048

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: นิพนธ์ต้นฉบับ

Download: -