ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ขนิษฐา สันติกูล

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษานำร่องดัดแปลงชุดทดสอบย่อย Picture Completion (Pc) และ Information (In) ของแบบทดสอบสติปัญญา The Wechsler Intelligence scale for children (WISC-III) ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมไทย

แหล่งที่มา/Source: วารสารจิตวิทยาคลินิก ปีที่ 33, ฉบับที่ 2, กรกฎาคม-ธันวาคม 2545, หน้า 28-40.

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ เพื่อดัดแปลงชุดทดสอบย่อย Picture Completion (Pc) และ Information (In) ของแบบทดสอบสติปัญญา The Wechsler Intelligence scale for children ฉบับที่ 3 (WISC-III) ให้สอดคล้องเหมาะสมกับสังคมไทย วิธีการศึกษา ประชากรที่ศึกษา คือนักเรียนในกรุงเทพฯ จำนวน 3,936 คน อายุ 6 ปี 11 เดือน 30 วัน เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง 11 ช่วงอายุได้ตัวอย่างทั้งสิ้น 585 คนมาทำชุดทดสอบย่อย Picture Completion (Pc) และ Information (In) ชุดเดียวกับกลุ่ม Try out เพื่อหาความสัมพันธ์และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนระหว่างข้อดัดแปลงและข้อเดิม การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติ Correlation Analysis Wilcoxon Signed Ranks test, Reliability Coefficient : Spearman Brow และหาค่า Standard Error of Measurement ของชุดทดสอบย่อย Pc และ In ผลการศึกษา นักเรียนสามารถทำข้อทดสอบเดิมและข้อทดสอบดัดแปลงได้ค่าเฉลี่ยของคะแนนดิบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ทุกชุดทดสอบย่อยค่าความสัมพันธ์ระหว่างข้อทดสอบเดิมและข้อทดสอบดัดแปลง ในชุดทดสอบย่อย Pc ข้อ 17 (ภาพเปียโน-ภาพฆ้องวง) ชุดทดสอบย่อย In ข้อ 22 (Ann Frank-สุรทรภู่) และข้อ 29 (กรุงเทพฯ-เชียงใหม่/โตเกียว-กรุงเทพฯ) มีค่าความสัมพันธ์ระดับต่ำคือ ระหว่าง 0.144 ถึง 0.258 ที่ P‹ 0.05 Pc ข้อ 20 (ภาพอ่างอาบน้ำ-ภาพอ่างล้างมือหรือซึ้งน้ำ), In ข้อ 13 (รัชกาลที่ 1-พระเจ้าตากสิน), ข้อ 18 (บราซิล-บรูไน) และข้อ 23 (บาลี-สันสกฤต), มีค่าความสัมพันธ์ระดับปานกลาง คือ ระหว่าง 0.454 ถึง 0.656 ที่ p, 0.05 ค่าความเที่ยงและค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของ Pc และ In จากชุดทดสอบเดิมและชุดดัดแปลงในทุกช่วงอายุเป็นดังนี้ Pc เดิม (0730 : 1.463) Pc ดัดแปลง (0.750 : 1.374) และ In เดิม (0.810 : 1.466) In ดัดแปลง (0.823 : 1.488) สรุป นำภาพเปียโน (ข้อ 17) มาใช้เพื่อคงไว้ซึ่งมาตรฐานเดิมของแบบทดสอบสติปัญญา WISC-III เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับภาพดัดแปลงฆ้องวงในระดับต่ำและภาพอ่างล้างมือ/ภาพซิ้งน้ำมาแทนภาพอ่างอาบน้ำ (ข้อ 20) เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับระดับปานกลาง และเด็กส่วนใหญ่ตอบได้ว่าส่วนสำคัญใดหายไปจากภาพอ่างล้างมือ ขณะที่เด็กจำนวนน้อยตอบได้ว่าส่วนสำคัญ ใดหายไปจากภาพอ่างอาบน้ำ สำหรับชุดทดสอบย่อย In ข้อที่มีความสัมพันธ์ระดับต่ำไม่ได้ถูกสร้างบนพื้นฐานวัฒนธรรม-สังคมไทย ดังนั้นจึงไม่สามารถนำมาใช้ถามกับเด็กไทยได้ ดังเช่นข้อ 22 (Ann Frank-สุนทรภู่) ขณะที่ข้อที่ 23 มีคำดัดแปลงขึ้นมาใหม่สองคำ(บาลี และสันสกฤต) แทนคำ เดิม (hieroglyphics) มีความสัมพันธ์กับระดับปานกลาง แสดงว่าเด็กไทยในเขตกรุงเทพฯ รู้จักทั้งบาลี และสันสกฤต ดังนั้นข้อที่ดัดแปลงขึ้นมาใหม่และของเดิมควรมาจากวัฒนธรรม และสังคมเดียวกัน ผลการทดสอบครั้งนี้สามารถนำมาใช้ปฏิบัติการจริงได้เนื่องจากชุดดัดแปลงมีค่าความเที่ยงสูงกว่าและความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของชุดดัดแปลงต่ำกว่าชุดเดิม

Keywords: การดัดแปลง ชุดทดสอบย่อย ข้อย่อย, แบบทดสอบสติปัญญา, นักเรียน, จิตวิทยา, แบบทดสอบ

ปีที่เผยแพร่/Year: 2545

Address: ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Code: 460000163

ISSN/ISBN: 0125-1422

Country of publication: Thailand.

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ: วารสารวิชาการ

Download: -