ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: อภิชัย มงคล

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทย The study to develop thai mental health indicator.

แหล่งที่มา/Source: การสัมมนาระบาดวิทยาแห่งชาติ ครั้งที่ 15, (22-24 พฤษภาคม 2545), หน้า 44-45.

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาเครื่องมือดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทย เพื่อหาค่าปกติ (norm) ซึ่งใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดภาวะสุขภาพจิต วิธีการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1) ศึกษาความตรงตามเนื้อหา ระยะที่ 2) ศึกษาความตรงตามโครงสร้าง ครั้งที่ 1 ระยะที่ 3) ศึกษาความตรงตามโครงสร้างครั้งที่ 2 ความตรงร่วมสมัย ความเชื่อมั่นของเครื่องมือ ค่าปกติของคนไทย ค่าความพร้อมในการประเมินภาวะสุขภาพจิตระหว่างดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับสมบูรณ์ และฉบับสั้น ในระยะที่ 3 นี้เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในเทศบาลนคร เทศบาลเมืองอบต. ระดับ 1-5 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนิอ จำนวน 1,429 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบ multri-stage sampling ทำการวิเคราะห์ข้อมูล ศึ่กษาความตรงตามโครงสร้างโดยการวิเคราะห์ปัจจัย ความตรงร่วมสมัยโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ความพร้อมในการประเมินภาวะระหว่างแบบประเมินฉบับสมบูรณ์และฉบับสั้น ด้วย Kappa statistic และค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟา ใช้เวลาในการศึกษาตั้งแต่ระยะที่ 1-3 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2542-กันยายน 2543. ผลการศึกษา ได้เครื่องมือดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับสมบูรณ์ 66 ข้อ มี 4 องค์ประกอบคือ 1) สภาพจิตใจ 2) สมรรถภาพของจิตใจ 3) คุณภาพของจิตใจ 4) ปัจจัยสนุบสนุน มีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือในแต่ละองค์ประกอบเท่ากับ 0.86, 0.83, 0.77 และ 0.80 ตามลำดับ เครื่องมือฉบับสั้นมี 15 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.70 ความตรงร่วมสมัยระหว่างเครื่องมือ ฉบับนี้กับแบบวัดสุขภาพจิตของอัมพร โอตระกูล และคณะ พบว่ามีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง (p‹0.01) ค่าความพร้อมระหว่างดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับสมบูรณ์ และฉบับสั้นเท่ากับ 0.61 สำหรับค่าปกติของเครื่องมือแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ สุขภาพจิตดีกว่าคนทั่วไป สุขภาพจิตเท่ากับคนทั่วไป และสุขภาพจิตต่ำกว่าคนทั่วไป สรุป ดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยมีทั้งฉบับสมบูรณ์ 66 ข้อ และฉบับสั้น 15 ข้อ เป็นเครื่องมือที่ใช้ประเมินกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุอยู่ในช่วง 15-60 ปี โดยการประเมินตนเองในระยะ 1 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ทราบภาวะสุขภาพจิตของตนเอง และช่วยเหลือตนเองเบื้องต้น เมื่อมีภาวะสุขภาพจิตต่ำกว่าคนทั่วไป นอกจากนี้ยังใช้ในการประเมินภาวะสุขภาพจิตของกลุ่มคนต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบในช่วงเวลาต่างกัน ก็ทำให้ทราบถึงภาวะสุขภาพจิตที่เปลี่ยนแปลงไป และหาแนวทางการช่วยเหลือเบื้องต้นได้

Keywords: ดัชนีชี้วัด, สุขภาพจิต, การประเมิน, ดัชนี, สุขภาพจิตคนไทย

ปีที่เผยแพร่/Year: 2545

Address: โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 460000172

ISSN/ISBN: -

Country of publication: Thailand.

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกในที่ประชุมวิชาการระบาดวิทยาแห่งชาติ

Download: -