ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: เกษราภรณ์ เคนบุปผา

ชื่อเรื่อง/Title: ความสัมพันธ์ระหว่างยาต้านอาการโรคจิตและการตายอย่างปัจจุบันทันด่วนของผู้ป่วยโรคจิตในโรงพยาบาลจิตเวช.

แหล่งที่มา/Source: การสัมมนาระบาดวิทยาแห่งชาติ ครั้งที่ 15, (22-24 พฤษภาคม 2545), หน้า 48-49.

รายละเอียด / Details:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างชนิดและปริมาณยาต้านอาการโรคจิตและการตายอย่าง ปัจจุบันทันด่วนของผู้ป่วยโรคจิตในโรงพยาบาลจิตเวช ใช้ระเบียบวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบ matched case-control study ย้อนหลัง 11 ปี ระหว่าง 1 ) กลุ่มศึกษาที่ตายอย่างปัจจุบันทันด่วนโดยไม่มีประวัติได้รับการรักษาทางกายและไม่มีอาการแสดงการป่วยทางกาย ภายใน 24 ชั่วโมง สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 54 ราย และ 2 ) กลุ่มเปรียบเทียบเป็นผู้ป่วยโรคจิตที่มารับบริการในวันหรือปีเดียวกัน และมีเพศตรงกับกลุ่มศึกษา โดยจับคู่เป็น 2 เท่าของกลู่มศึกษา ด้วยวิธีการสุ่มต้วอย่างแบบง่ายจำนวน 108 รายเก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกประวัติผู้ป่วยในเวชระเบียน ผลการศึกษาพบว่า อุบัติการณ์ของการตายอย่างปัจจุบันทันด่วนของผู้ป่วยโรคจิตในช่วงเวลาที่ศึกษาเป็นร้อยละ 11 ยา ที่มีความสัมพันธ์กับการตายอย่างปัจจุบันทันด่วน คือ Thioridazine เริ่มที่ระดับ1-50 มิลลิกรัมต่อวัน (OR=1.29, 95%C1=1.28-1.30) ถึงสูงสุด 451- 500 มิลลิกรัมต่อวัน (OR=121.82, 95%C1=121.22-122.42) และ Chlorpromazine เริ่มที่ระด้บ1-50 มิลลิกรัมต่อวัน (OR = 1.12, 95%C1 = 1.117-1.123 ) ถึงสูงสุดที่ 551-600 มิลลิกรัมต่อวัน (OR=14.12, 95%C1=14.08-14.16 ) โดยระดับของความสัมพันธ์เพิ่มตามปริมาณยาที่ได้รับ การได้รับยาต้านอาการโรคจิต ตัวไม่มีความสัมพันธ์กับการตายอย่างปัจจุบันทันด่วน การเสียชีวิตส่วนใหญ่พบในช่วงเวลา กลางคืนมากกว่าช่วงเวลากลางวัน ผู้ป่วยที่เสียชีวิตส่วนใหญ่ได้รับปริมาณยามื้อก่อนนอนสูงกว่ามื้ออื่น อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้ในครั้งนี้ไม่ได้สนับสนุนให้เลิกใช้ยา Thioridazine และ Chlorpromazine ในการรักษาผู้ป่วยจิตเวช เนื่องจากยากลุ่ม ดังกล่าวราคาถูกและยังมีประสิทธิภาพทางการรักษาดี ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะได้มีการพัฒนาตัวยาใหม่ขึ้นมาใช้แทนแต่ก็ยังมีราคาแพง การประยุกต์ใช้ผลการศึกษาครั้งนี้ คือ ควรเพิ่มความระมัดระวังในการใช้ยากลุ่ม Phenothiazine โดยควรมีการซักประวัติและตรวจร่างกายก่อนใช้ยาอย่างละเอียด และจากผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่ตายอย่างปัจจุบันทันด่วนมีอายุเฉลี่ย 42 ปี ก็พอจะเป็นแนวทาง ได้ว่า ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ที่ได้รับยากลุ่มดังกล่าวในขนาดสูงควรได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจรวมทั้งควรมีการสังเกตอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นด้วย และควรหลีกเลี่ยงการให้ยาขนาดสูงในมื้อกลางวัน ถ้าต้องการให้ผู้ป่วยนอนหลับอาจจะพิจารณาให้ยา กลุ่ม Benzodiazepine ซึ่งปลอดภัยกว่าแทน นอกจากนี้การใช้ยากลุ่ม high potency ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ก็อาจจะลดความเสี่ยงลงได้

Keywords: ยาต้านโรคจิต, ตายอย่างปัจจุบันทันด่วน, ผู้ป่วยโรคจิต, จิตเวช, ยารักษาโรคจิต, โรคจิต, psychiatry, antipsychotic drug, sudden death

ปีที่เผยแพร่/Year: 2545

Address: โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

Code: 460000174

ISSN/ISBN: -

Country of publication: Thailand.

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกในที่ประชุมวิชาการระบาดวิทยาแห่งชาติ

Download: -