ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: วันเพ็ญ เชาว์เชิง

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษาอัตราความชุกของภาวะสมองเสื่อม ภาวะสมองเสื่อม ภาวะสุขภาพทั่วไป และปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสมองเสื่อม ภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมา

แหล่งที่มา/Source: การสัมมนาระบาดวิทยาแห่งชาติ ครั้งที่ 15, (22-24 พฤษภาคม 2545), หน้า 52-53.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล : มีการคาดการณ์มีผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อปัญหาด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะปัญหาสุขภาพจิตที่สำคัญ คือภาวะสมองเสื่อมและซึมเศร้า ซึ่งเป็นสาเหตุของความบกพร่องในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ (อรพรรณ ทองแตง, 2544) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เจ็บป่วยมีอาการจากจิตใจถึงร้อยละ 60 ส่วนอาการหรือโรคทางกายจริงๆ มีเพียงร้อยละ 40 เท่านั้น และ จากสถิติการให้บริการผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลจิตเวขนครราชสีมา 3 ปี ย้อนหลัง (ปีงบประมาณ 2541-2543) พบว่า เป็นผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคซึมเศร้าเฉลี่ยร้อยละ 18.71 นอกจากนี้ภาวะสมองเสื่อมเป็นภาวะหนึ่งที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก จากการศึกษาความชุกของภาวะสมองเสื่อม พบว่า ร้อยละ 11.8 ซึ่งโรคนี้ถือเป็นภาวะหนึ่งที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และมีอุบัติการณ์สูงถึง 15 รายใน 20 ราย ของประชากรโลกที่มีอายุเกิน 65 ปี และในคนที่มีอายุเกิน 80 ปี จากผลกระทบดังกล่าว ในอนาคตปัญหานี้ จะเป็นปัญหาสำคัญผู้วิจัยสนใจศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมป้องกันผู้สูงอายุในชุมชนได้อย่างเหมาะสมต่อไป วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกของภาวะสมองเสื่อม ภาวะซึมเศร้า และ ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อม ภาวะซึมเศร้า วิธีการศึกษา 1. ชนิดของการศึกษา : วิจัยเชิงพรรณนาตัดขวางเวลาช่วงเวลาสำรวจในชุมชน 2. กำหนดขนาดตัวอย่างและวิธีการเลือกตัวอย่าง เลือกจากผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชน จำนวน 430 คน จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (multistafe sumple radom sampling) 3. ตัวแปรที่ใช้ คือ ภาวะสมองเสื่อม ภาวะซึมเศร้า ภาวะสุขภาพทั่วไป 4. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ สถิติเชิงพรรณนา และ Chi-square Pearson correlation and Independent t-test ผลการศึกษา พบว่าผู้สูงอายุมีภาวะสมองเสื่อมร้อยละ 64.88 มีความชุกของภาวะสมองเสื่อม 10.29 ต่อประชากร 1,000 คน และผู้สูงอายุมีภาวะซึมเศร้าร้อยละ 20.70 ความชุกของภาวะซึมเศร้า 3.28 ต่อประชากร 1,000 คน และมีความชุกทั้งสองภาวะ คิดเป็น 2.29 ต่อประชากร 1,000 คน และปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ เขตที่ตั้ง เพศ อายุ ความสามารถในการอ่าน การศึกษา การมีงาน การร่วมกิจกรรม การให้คำปรึกษา การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่ และปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าคือ ความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัว ความสามารถในการอ่านเขียน มีโรคประจำตัว สรุปผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยหลายตัวที่มีผลต่อภาวะสมองเสื่อม และภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา และสามารถนำผลที่ได้มาใช้ในการวางแผน และเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ตลอดจนพัฒนาการส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ

Keywords: ภาวะสมองเสื่อม ภาวะซึมเศร้า ภาวะสุขภาพทั่วไป ซึมเศร้า ผู้สูงอายุ สุขภาพจิต

ปีที่เผยแพร่/Year: 2545

Address: โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา กรมสุขภาพจิต

Code: 460000176

ISSN/ISBN: -

Country of publication: Thailand.

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกในที่ประชุมวิชาการระบาดวิทยาแห่งชาติ

Download: -