ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: พรรธนภ ตัณฑ์ศุภศิริ

ชื่อเรื่อง/Title: ความชุกของภาวะ Metabolic Syndrome ในผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกจิตเวช โรงพยาบาลศรีนครินทร์.

แหล่งที่มา/Source: วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, ปีที่ 53, ฉบับที่ 1, มกราคม-มีนาคม 2551, หน้า 98.

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ เพื่อความชุกของภาวะ Metabolic Syndrome ในผู้ป่วยโรคจิตเภท และความแตกต่างของความชุกในกลุ่มที่ได้ยารักษาโรคจิตกลุ่มเก่าและกลุ่มใหม่ รวมถึงปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์กับภาวะ MetS วิธีการศึกษา ศึกษาเชิงสำรวจภาคตัดขวาง (Crossectional descriptive study) จากกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคจิตเภท (ตามเกณฑ์การวินิจฉัยของ DSM-IV-TR) ที่แผนกผู้ป่วยนอกจิตเวช โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 ถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 จำนวน 156 ราย เก็บข้อมูลโดยวัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดความดันโลหิตด้วยเครื่องมือมาตรฐาน คำนวณดัชนีมวลกาย มีแบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับอายุ เพศ ประวัติญาติสายตรงป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติและภาวะอ้วนลงพุง พฤติกรรมการออกกำลังกาย และรับประทานของหวานหรืออาหารที่มีไขมันสูงในรอบปีที่ผ่านมา ประวัติการรักษาโรคอื่นๆ ที่เป็นร่วม ชนิดและระยะเวลาที่ได้รับยารักษาโรคจิต ประเภทของโรคจิตเภทจากเวชระเบียนของผู้ป่วย ตรวจวัดระดับน้ำตาล ไขมันไตรกลีเซอไรด์และไขมัน HDL ในเลือดหลังอดอาหารอย่างน้อยนาน 8 ชั่วโมง เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะ MetS ใช้ IDF ใช้สถิติ univariate analysis หาค่า OR และ 95% CI และ Chi-Square เพื่อดูค่า p-value วิเคราะห์ปัจจัยแบบพหุสัมพันธ์ถดถอยใช้ Stepwise multiple logistic regression ผลการศึกษา พบความชุกภาวะ MetS ร้อยละ 15.4 (ตามเกณฑ์ของ IDF) และร้อยละ 20.5 (ตามเกณฑ์ของ Updated ATP III) ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.008) และพบว่าทั้ง 2 เกณฑ์การวินิจฉัยมีค (Kappa=0.83, 95% CI=0.71-0.94, p=0.000) ความชุกของภาวะ MetS ในกลุ่มที่ได้ยารักษาโรคจิตกลุ่มเก่าพบร้อยละ 9.4 ขณะที่ความชุกของภาวะ MetS ในยากลุ่มใหม่พบได้ร้อยละ 20 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะ MetS คือ การได้รับยารักษาโรคจิตกลุ่มใหม่ (OR=2.4, 95% CI=0.9-6.1, p=0.09) การได้รับยาร่วมกันทั้งกลุ่มเก่าและกลุ่มใหม่ (OR=2.1,95% CI=0.5-8.5, p=0.27) การมีประวัติญาติสายตรงป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง (OR=2.0, 95% CI=0.8-5.1, p=0.13) เพศหญิง (OR=1.5, 95% CI=0.6-3.7, p=0.33) การไม่ควบคุมอาหาร (OR=1.1, 95% CI=0.5-2.9, p=0.78) เมื่อวิเคราะห์แบบปัจจัยพหุสัมพันธ์ถดถอยพบว่า ภาวะ MetS มีความสัมพันธ์กับการได้รับยารักษาโรคจิตกลุ่มใหม่ (OR=3.3, 95% CI=1.1-10.1, p=0.04) และการมีประวัติญาติสายตรงป่วยเป็นโรความดันโลหิตสูง (OR=3.2, 95% CI=1.1-9.8, p=0.04) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป ความชุกของภาวะ MetS ในผู้ป่วยโรคจิตเภทไทยพบร้อยละ 15.4 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะ MetS อย่างมีนัยสำคัญ คือการใช้ยารักษาโรคจิตกลุ่มใหม่และการมีประวัติญาติสายตรงป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง

Keywords: ภาวะ metabolic syndrome, MetS, โรคจิตเภท, ความชุก, ยารักษาโรคจิต, จิตเวช, ยารักษาโรคจิตกลุ่มใหม่, จิตเวชศาสตร์, โรงพยาบาลศรีนครินทร์

ปีที่เผยแพร่/Year: 2551

Address: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Code: 20080074

ISSN/ISBN: 0125-6985

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อวารสารวิชาการ

Download: