ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: -

ชื่อเรื่อง/Title: โครงการครอบครัวสัมพันธ์ป้องกันความเครียด.

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 2, เรื่อง เรียนรู้เพื่อการบำบัดโรคซึมเศร้าและการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย, วันที่ 25-28 กรกฎาคม 2550 ณ. โรงแรมดุสิตไอส์แลนด์ รีสอร์ท จังหวัดเชียงราย, หน้า 102-103.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังส่วนใหญ่จะต้องใช้ยาในการรักษาเป็นเวลานาน เนื่องจากเป็นโรคที่รักษาไม่หาย บางครั้งจึงอาจทำให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเกิดความเบื่อหน่าย ท้อแท้ มีภาวะเครียดเกิดขึ้นได้ ซึ่งครอบครัวมีส่วนสำคัญในการเป็นแรงสนับสนุนให้ผู้ป่วยรับการรักษาต่อเนื่องและเป็นกำลังใจในการต่อสู้กับโรคภัยได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุมีบุตรหลานดูแล และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจะมีบทบาทในการติดตามเยี่ยมบ้านร่วมกับเจ้าหน้าที่ ดังนั้นผู้ดูแลควรมีความรู้และเข้าใจเรื่องโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาในพื้นที่ ภาวะเครียด การเผชิญความเครียด ภาวะซึมเศร้า เพื่อช่วยให้สามารถประเมินภาวะดังกล่าวได้ในระยะแรกพร้อมทั้งส่งเสริมให้การดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพในครอบครัวและชุมชนให้ประสบผลสำเร็จได้มากขึ้น วัตถุประสงค์ 1) เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มีความรู้เรื่องโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาในพื้นที่ ภาวะเครียด การเผชิญความเครียด ภาวะซึมเศร้า ตระหนักและเห็นความสำคัญในการมีคุณค่าในตนเอง 2) เพื่อให้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มีความรู้เรื่องโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาในพื้นที่ ภาวะเครียด การเผชิญความเครียด ภาวะซึมเศร้า การสังเกตอาการและประเมินอาการเครียดเบื้องต้นได้ 3) เพื่อให้เครือข่ายทางสังคมในหมู่บ้าน (กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน) มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนถ่ายทอดความรู้เรื่องโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาในพื้นที่ การใช้แบบประเมินความเครียด แบบประเมินภาวะซึมเศร้าได้ กลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ดำเนินงาน 1) ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 85 คน 2) ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 85 คน 3) กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในพื้นที่ จำนวน 60 คน รวมกลุ่มเป้าหมาย 230 คน กลวิธีและกิจกรรม ขั้นเตรียมการ 1) ประชุมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในศูนย์สุขภาพชุมชนโตนดเพื่อร่วมรับรู้โครงการ 2) แต่งตั้งและประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดเป้าหมายและกิจกรรม 3) ประสานงานกับกลุ่มเป้าหมาย สถานที่ วิทยากร การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ 4) จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย เตรียมแบบประเมิน ขั้นตอนดำเนินกิจกรรม 1) ตรวจสุขภาพประจำปี 2) ดำเนินการอบรมในประเด็นดังต่อไปนี้ ฟังบรรยายครอบครัวอบอุ่น สังคมอยู่เย็นเป็นสุข, กิจกรรมครอบครัวของฉันนั้นดีอย่างไร, กิจกรรม walk rally วิธีการคลายเครียด โรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง/โรคทางจิตเวช, ฟังบรรยายประกอบการสาธิต"การประเมินความเครียด", ฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายรูปแบบต่างๆ 3) การนำผลที่ได้จากการอบรมมาใช้ในการดำเนินชีวิต และการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ขั้นเตรียมการประเมินผล ตรวจวัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง คำนวณดัชนีมวลกาย เจาะเลือดส่งตรวจระดับคลอเลสโตรอล ไตรกลีเซอไรด์ แอลดีอล เฮชดีแอล, การรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล, การสรุปและการรายงานผล การประเมินผล การรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล, การสรุปและการรายงานผล งบประมาณ งบจากองค์การบริหารส่วนตำบลหนองระเวียงและงบสร้างเสริมสุขภาพจากศูนย์สุขภาพชุมชนโตนด ตำบลหนองระเวียง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1) ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้เรื่องโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาในพื้นที่ ภาวะเครียด การเผชิญความเครียด ภาวะซึมเศร้า ตระหนักและเห็นความสำคัญในการมีคุณค่าในตนเอง 2) ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มีความรู้เรื่องโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาในพื้นที่ ภาวะเครียด การเผชิญความเครียด ภาวะซึมเศร้า การสังเกตอาการและประเมินอาการเครียดเบื้องต้นได้ 3) กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนถ่ายทอดความรู้เรื่องโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาในพื้นที่ การใช้แบบประเมินความเครียด แบบประเมินภาวะซึมเศร้าได้

Keywords: ความเครียด, การป้องกันความเครียด, ครอบครัว, ความสัมพันธ์, ภาวะซึมเศร้า, การเผชิญความเครียด

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: -

Code: 200700020001

ISSN/ISBN: 2859-497-X

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download: