ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: พิเชฐ อุดมรัตน์ พ.บ.

ชื่อเรื่อง/Title: ความเป็นมาของโรคตื่นตระหนก

แหล่งที่มา/Source: วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปีที่ 46 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2544; หน้า 153-168.

รายละเอียด / Details:

ในอดีตคำว่า "ตื่นตระหนก" และ “วิตกกังวล” ถูกประยุกต์ใช้ในปรากฏการณ์ที่หลากหลายทั้งในบทความทางจิตวิเคราะห์ พฤติกรรมศาสตร์ และประสาทชีววิทยา จากงานวิจัยทางคลินิกในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ทำให้มีการพัฒนาหลักเกณฑ์การวินิจฉัยในกลุ่มโรควิตกกังวลให้รัดกุมยิ่งขึ้น จากเดิมที่ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 โรคในกลุ่มนี้ถูกให้คำจำกัดความอย่างหลวมๆ ก็ถูกปรับปรุงให้มีคำจำกัดความที่รัดกุมมากขึ้นกว่าเดิม โดยได้รับอิทธิพลจากผลการศึกษาของ Donald Klein ว่าสามารถจำแนกแยกความวิตกกังวลชนิดตื่นตระหนกออกจากความวิตกกังวลชนิดอื่นๆ ได้ด้วยการใช้ยาที่ต่างกลุ่มกัน นับจากนั้นก็ทำให้มีงานวิจัยเกี่ยวกับโรคตื่นตระหนกหรือโรคแพนิคเกิดขึ้นอย่างมากมาย บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะทบทวนวารสารทั้งหมดเท่าที่สืบค้นได้ถึงประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของโรคตื่นตระหนก ทั้งที่มีรายงานในต่างประเทศและในประเทศไทย

Keywords: โรคตื่นตระหนก โรคแพนิค โรควิตกกังวล ประวัติ พัฒนาการ ประเทศไทย วิตกกังวล จิตเวชศาสตร์ จิตเวช, panic, anxiety, neurosis, panic disorder

ปีที่เผยแพร่/Year: 2544

Address: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110

Code: 0000015

ISSN/ISBN: 0125-6985

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทความฟื้นวิชา: วารสารวิชาการ

Download: Download รายงานวิจัย คลิกได้ที่นี่ค่ะ PDF Format 3.14MB