ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ปราณี ภาณุภาส

ชื่อเรื่อง/Title: ประสิทธิผลของการบำบัดรักษาผู้ป่วยสุราด้วยแนวทางพุทธศาสนา.

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุราระดับชาติ ครั้งที่ "สุราไม่ใช่สินค้าธรรมดา" วันที่ 21-22 พฤศจิกายน 2550 โรงแรมริชมอนด์ แคราย จ.นนทบุรี, หน้า 164.

รายละเอียด / Details:

การศึกษาเรื่องประสิทธิผลของการบำบัดรักษาผู้ป่วยสุราด้วยแนวพุทธศาสนา ในผู้ป่วยสุราที่รับการบำบัดรักษาแบบผู้ป่วยนอกของสถาบันธัญญารักษ์เป็นวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการบำบัดรักษาผู้ป่วยสุราด้วยแนวพุทธศาสนาในผู้ป่วยสุราที่รับการบำบัดรักษาแบบผู้ป่วยนอก ในเรื่องความสามารถในการควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมการดื่มสุราซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการทหาร กรมสรรพาวุธ ทหารอากาณ จำนวน 34 ราย ใช้ระยะเวลาในการบำบัดรักษา 1 ปี 4 เดือน กิจกรรมการบำบัดรักษาแบ่งเป็น 2 ระยะด้วยกันคือ ระยะแรกใช้เวลาในการบำบัดนาน 4 เดือน มีกิจกรรม จำนวน 10 ครั้ง ได้แก่ การเตรียมการบำบัดรักษา การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการให้คำปรึกษาแนวพุทธศาสนา การเข้าถึงพุทธศาสนาเบื้องต้น การฝึกสติปัฏฐาน 4 การพัฒนาจิตวิญญาณด้วยการฝึกสติ และการประเมินผล ในระยะที่สองเป็นการจัดกิจกรรมติดตามผลการบำบัดรักษาใช้ระยะเวลา 1 ปี มีกิจกรรมจำนวน 7 ครั้ง ได้แก่ แรงจูงใจในการเลิกสุรา พลังอำนาจในการดำรงชีวิต เป้าหมาย ความเด็ดเดี่ยวในการเลิกดื่มสุรา การดูแลตนเองตามแนวพุทธศาสนา การสร้างความสุข การสร้างความภาคภูมิใจในตนเอง การปฏิบัติธรรมและการพัฒนาตนเองตามแนวพุทธศาสนา การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป และแจงความถี่ ร้อยละ หาค่าเฉลี่ยและความเบี่ยงเบนมาตรฐานหาค่า T (T-test statistic). ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มทดลองเป็นเพศชายร้อยละ 97.05 อายุเฉลี่ย 44 ปี รายได้เฉลี่ย 14,509 บาทต่อเดือน มีการดิ่มสุราอย่างเดียวร้อยละ 70.59 มีระยะเวลาการดื่มสุรา เฉลี่ย 13.5 ปี มีระดับการติดสุรา (Alcohol dependent) ร้อยละ 76.47 ชนิดของสุราที่ดื่ม 40 ดีกรีร้อยละ 57.1 และ 35 ดีกรีร้อนละ 25.7 2. ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ของผู้ป่วยสุราก่อนบำบัดรักษาและหลังการบำบัดรักษาไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=.22) 3. เปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ป่วยสุราก่อนรับการบำบัดรักษา (=67.16) และหลังการบำบัดรักษา (=70.16) พบว่ามีความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ย พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=.046) 4. เมื่อเปรียบเทียบความสามารถในการควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ป่วยสุรา ก่อนและหลังการเข้ารับการบำบัดรักษา พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=.05) 5. ผู้ป่วยสุราสามารถเลิกสุราได้ตลอดระยะเวลา 1 ปี จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 5.88.

Keywords: ประสิทธิผลของการบำบัดรักษา, ผู้ป่วยสุรา, แนวพุทธศาสนา, ผู้ป่วยสุรา, ศาสนา, ติดสุรา, บำบัดสุรา

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: สถาบันธัญญารักษ์

Code: 200800151

ISSN/ISBN: 978-974-09-4574-1

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download: