ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: สงกรานต์ ภาคโชคดี

ชื่อเรื่อง/Title: การควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประเทศไทย: สถานการณ์ปัจจุบันและก้าวต่อไป.

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุราระดับชาติ ครั้งที่ "สุราไม่ใช่สินค้าธรรมดา" วันที่ 21-22 พฤศจิกายน 2550 โรงแรมริชมอนด์ แคราย จ.นนทบุรี, หน้า 139.

รายละเอียด / Details:

(ร่าง) พรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผ่านกรรมาธิการวิสามัญแล้ว เมื่อ 12 ตุลาคม 2550 พร้อมข่าวจากหลายกระแสว่า มีความพยายามของธุรกิจที่จะเสียประโยชน์จาก พรบ. ฉบับนี้ จะดึงเรื่องให้ช้าจนพิจารณาไม่ทันในสภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดปัจจุบัน หรือถ้าดึงไม่ได้จะส่งตัวแทนเข้าไปอภิปรายในสภาฯ เพื่อให้เกิดความขำแย้งกันมาก เพื่ออ้างเป็นเหตุที่จะไม่พิจารณาต่อในสภาฯนี้ หรือส่งกลับไปให้กรรมาธิการฯ พิจารณาทบทวน ซึ่งอาจจะทำให้กลับมาพิจารณาในวาระ 2-3 ในสภาฯ ไม่ทัน และในที่สุดถ้าจะต้องผ่าน พรบ. นี้ก็จะขอแก้ไขให้ลดมาตรการควบคุมลงกว่าที่กรรมาธิการฯ พิจารณามาแล้ว ซึ่งก็ถูกแก้ไขในกรรมาธิการจนด้อยประสิทธิภาพไปมากแล้ว เครือข่ายภาคประชาชน ซึ่งปัจจุบันพยายามขยายการมีส่วนร่วมไปในกลุ่มต่างๆ กว้างขวางมากขึ้น จะต้องขับเคลื่อนเพื่อสนับสนุนให้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดปัจจุบัน พิจารณาผ่าน พรบ.ฉบับนี้ให้ได้ โดยพยายามให้ข้อมูล สนช. ผู้ที่มีแนวโน้มสนับสนุน หรือมีความสามารถในการนำเสนอในสภาฯ ได้ดี เพื่อให้ช่วยอภิปรายสนับสนุน และพยายามแก้ไขให้มีมาตรการในการควบคุมที่เข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะมาตราที่เกี่ยวข้องกับการห้ามโฆษณา หรืออย่างน้อยก็ไม่ให้ลดไปกว่าที่กรรมาธิการฯ พิจารณามาแล้ว ถ้า พรบ. ฉบับนี้ไม่ผ่านสภาฯ คงเป็นงานหนักของภาคประชาชนที่จะต้องขับเคลื่อนผลักดันกับรัฐบาลใหม่ต่อไป แม้ พรบ. นี้จะผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว ภารกิจต่อไปของภาคประชาชน ก็คงยังจำเป็นต้องขับเคลื่อนต่อไป เริ่มจากการผลักดัน ให้มีผู้แทนภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในทุกระดับ เท่าที่จะเป็นไปได้ อีกทั้ง น่าจะบทบาทสำคัญในการเฝ้าระวังการทำผิดกฎหมายในแต่ละพื้นที่ เพื่อนำเจ้าหน้าที่ดำเนินคดี และสื่อสารให้เป็นการแสตื่นตัวในสังคม เพื่อให้การควบคุมมีประสิทธิภาพจริง โดยให้ขับเคลื่อนกระบวนการทางกฎหมาย บูรณาการไปกับการรณรงค์งดเหล้าในเทศกาลงานประเพณีต่างๆ หรืองานสร้างพื้นที่ปลอดเหล้า ซึ่งเป็นมาตรการส่วนหนึ่งของ พรบ. ฉบับนี้ด้วย และกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่เครือข่ายฯ ต้องให้ความสำคัญต่อไป และคงต้องทำงานอย่างมียุทธศาสตร์มากขึ้น คือ "เยาวชน" ซึ่งอาจจะเชื่อมโยงประเด็นการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กับการติดเชื้อ HIV. ซึ่งกำลังเป็นปัญหาในเยาวชนที่เติบโตมากขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งการพัฒนาศูนย์ปรึกษาปัญหาของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางโทรศัพท์ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้ที่มีปัญหา หรือผู้ใกล้ชิดเข้าถึงการให้บริการเพื่อการ ลด ละ เลิก เหล้า หรือหาทางแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องต่างๆ โดยอาจบูรณาการกับการเลิกบุหรี่ ให้เป็น Call center ระดับชาติ ซึ่งงานของภาคประชาชนจำเป็นต้องประสานงานอย่างใกล้ชิดกับการจัดการความรู้และฝ่ายนโยบายของรัฐบาล

Keywords: สุรา, แอลกอฮอล์, การควบคุม, การจัดการความรู้, สุขภาพ, กระแส, เยาวชน, เครือข่ายภาคประชาชน, การห้ามโฆษณา, งดเหล้า, สุรา

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า

Code: 200800140

ISSN/ISBN: 978-974-09-4574-1

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download: