ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ชาญ อุธิยะ

ชื่อเรื่อง/Title: โครงการงดเหล้าในงานศพ.

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุราระดับชาติ ครั้งที่ "สุราไม่ใช่สินค้าธรรมดา" วันที่ 21-22 พฤศจิกายน 2550 โรงแรมริชมอนด์ แคราย จ.นนทบุรี, หน้า 103.

รายละเอียด / Details:

สถาบันแสนผะหญาเป็นองค์กรที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของชาวบ้านที่แสวงหาทางออกและทางรอดให้กับตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคมบนความเชื่อมั่นและศรัทธาที่ว่า องค์ความรู้จะทำให้ตนเองครอบครัว ชุมชน และสังคมอยู่รอดนั้น ส่วนหนึ่งอยู่ในตัวตน ซึ่งองค์ความรู้เหล่านั้นผ่านประสงการณ์การทำงานบนวิถีของการปฏิบัติลองผิดลองถูกโดยยึดความอยู่รอดขอตนเองและครอบครัวเป็นเดิมพันมากบ้างน้อยบ้างขึ้นอยู่กับโอกาสและระยะเวลาในการดำรงชีวิตบนโลกใบนี้ ซึ่งรวมแล้วเรียกว่า ภูมิปัญญาบนหลักคิดและความเชื่อมั่นดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ภายใต้เครื่องมืองานวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่มุ่งเน้นการสร้างแรงระบิดจากภายในบนกระบวนการมีส่วนร่วมตั้งแต่การค้นหาปัญหา ความต้องการบนเงื่อนไขความอยากคิดอยากทำของเจ้าของปัญหาเอง ตั้งแต่การขึ้นโจทย์ การพัฒนาโจทย์ให้ชัดเจน การเก็บข้อมูล รวบรวมข้อมูล การใช้เครื่องมือ การวิเคราะห์ข้อมูล การกำหนดกิจกรรมเพื่อตอบโจทย์ทุกขั้นตอน ได้กำหนดบทบาทให้ชาวบ้านและชุมชนเป็น (พระเอก) และพี่เลี้ยงเป็นเพียงคนอำนวยความสะดวกและหนุนเสริมเท่านั้น การเกาะเกี่ยวการทำงานร่วมกันของสำนักงานสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และเครือข่ายองค์การงดเหล้า (ศคล.) เกิดขึ้นบนความร่วมมือระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ผ่านสถาบันแสนผะหญาจังหวัดลำปาง และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผ่านเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (ศคล.) โดยมีพันธกิจร่วมในการยกระดับองค์ความรู้จากงานวิจัยโครงการเล็กๆโครงการหนึ่งคือโครงการจัดระเบียบสังคมภายใต้เงื่อนไขการงดเหล้าในงานศพ ซึ่งส่งผลในด้านการเปลี่ยนแปลงสังคมจนได้รับเป็นโครงการวิจัยเด่นของ สกว. ในปี พ.ศ. 2547 จากการดำเนินงานของพี่น้องบ้านดง ตำบลนายาง อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการขยายบทเรียนการทำงานโครงการจัดระเบียบสังคม โดยการงดเหล้าในงานศพให้เต็มพื้นที่จังหวัดลำปาง ภายใต้โครงการการจัดการความรู้เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและแก้ไขปัญหาความยากจนโดยการงดเหล้าในงานศพในพื้นที่จังหวัดลำปางผ่านกลไกการทำงานในพื้นที่จังหวัด เช่น กลไกทางด้านจิตวิทยาความเชื่อผ่านเครือข่ายของพระสงฆ์ที่เข้ามาเป็นคณะทำงาน กลไกทางด้านการปกครองตั้งแต่ผู้ใหญ่บ้าน กำนันผ่านการของความร่วมมือผลักดันให้เป็นนโยบายระดับจังหวัดและกลไกที่สามเน้นการจัดเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์ให้เห็นภาพความเป็นจริงของการจัดงานศพในพื้นที่จังหวัดลำปางว่าเป็นปัญหาร่วมกันในแต่ละพื้นที่สร้างเป็นกระแสผลักดันสู่นโยบาย ระดับจังหวัดและกำหนดระยะเวลาขยายงานเต็มพื้นที่ในปี พ.ศ. 2552 จังหวัดลำปางจะไม่มีการเลี้ยงเหล้าในงานศพ โดยเป้าหมายในปี พ.ศ. 2549 นี้จะผลักดันให้เกิดตำบลต้นแบบ 13 ตำบลในพื้นที่ 13 อำเภอ ผลการดำเนินงานในระยะเวลา 8-9 เดือนที่ผ่านมาของการดำเนินงานเกิดการขยายบทเรียนการทำงานจากบ้านดง ตำบลนายาง อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปางทำให้เกิดอำเภอต้นแบบการงดเหล้าในงานศพอำเภอสบปราบและเกิดตำบลนำร่องขึ้น 12 ตำบล ใน 12 อำเภอ ของจังหวัดลำปาง วิสัยทัศน์การทำงานของทางสถาบันมีความเชื่อว่า ผลเกิดจากพฤติกรรม พฤติกรรมเกิดจากการสั่งการของสมอง ระบบคิดเป็นฐานข้อมูลที่ส่งผ่านการสั่งการของสมอง เพราะฉะนั้นเหตุมาจากวิธีคิดแนวทางแก้ไขปัญหาของคนในการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ต้องแก้ที่ระบบคิด ส่งเสริมการเรียนรู้ส่งผ่านระบบสั่งการของสมองนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแล้ว ก็จะแก้ไขปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ได้

Keywords: เหล้า, งานศพ, การดำรงชีวิต, สุขภาพ, พฤติกรรม, สุรา, เครือข่าย, งดเหล้าในงานศพ

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: สถาบันแสนผะหญา.

Code: 200800116

ISSN/ISBN: 978-974-09-4574-1

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download: