ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: กาญจนา เหมะรัต

ชื่อเรื่อง/Title: ผลของการใช้แบบคัดกรอง (Early detection) และการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช เพื่อป้องกันการเกิดกลุ่มอาการนิวโรเล็พติก.

แหล่งที่มา/Source: วารสารการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, ปีที่ 21, ฉบับที่ 2, กรกฎาคม-ธันวาคม 2550, หน้า 39.

รายละเอียด / Details:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แบบคัดกรอง (Early detection) และการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช เพื่อป้องกันการเกิดกลุ่มอาการนิวโรเล็พติก (Neuroleptic Malignant Syndrome) ประชากรที่ศึกษา เป็นผู้ป่วยจิตเวชรับใหม่ทุกราย ที่รับไว้รักษาในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ระหว่าง วันที่ 15 ตุลาคม –16 พฤศจิกายน 2550 จำนวน 360 ราย เป็นกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการคัดกรอง จะเกิดอาการกลุ่มนิวโรเล็พติก และการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช เพื่อป้องกันเกิดกลุ่มอาการนิวโรเล็พติก (Neuroleptic malignant Syndrome) จำนวน 35 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย1. แบบคัดกรอง (Early detection) มีปัจจัยเสี่ยง 11 ปัจจัย 2. แนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช เพื่อป้องกันการเกิดกลุ่มอาการนิวโรเล็พติก (Neuroleptic Malignant Syndrome) ที่สอดคล้องกับแบบคัดกรอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ด้วยจำนวน ความถี่ ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยจิตเวชกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการนิวโรเล็พติก (Neuroleptic Malignant Syndrome) เป็นเพศชาย ร้อยละ 65.71 อายุระหว่าง 30-44 ปี ร้อยละ 42.86 ได้รับการวินิจฉัยโรคหลัก เป็นโรคจิตเภท ร้อยละ 77.14 ได้รับการวินิจฉัยโรคร่วมหนึ่งโรค ร้อยละ 20.00 และได้รับการวินิจฉัยโรคร่วมสองโรค ร้อยละ 5.71 และ ผลการคัดกรอง (Early detection) พบว่า ปัจจัยเสี่ยงหลักที่พบใน 2 อันดับแรก คือ 1.) มีประวัติรับประทานอาหารได้น้อยกว่าปกติหรือไม่รับประทานอาหาร ร้อยละ 62.86 และ 2.) มีการเกิดภาวะกายใจไม่สงบที่มาก หรือรุนแรง (Exhaustion) ร้อยละ 60.00 ตามลำดับ ปัจจัยเสี่ยงรองที่พบใน 3 อันดับแรก คือ 1.) มีอัตราการเพิ่มของขนาดยาจำนวนมาก (Loading) 2.) ได้รับยารักษาโรคจิตในขนาดสูง โดยเฉพาะในรูปยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และออกฤทธิ์ระยะยาวยาว ร้อยละ 51.42 และ 3.) มีการจำกัดพฤติกรรมผู้ป่วย (Restraint) ระยะยาวตั้งแต่ 1 ชม. ขึ้นไป (ยกเว้นการจำกัดพฤติกรรมเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ) ร้อยละ 37.14 ผู้ป่วยจิตเวชที่ได้รับการคัดกรอง เป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต่อการเกิดกลุ่มอาการ นิวโรเล็พติก (Neuroleptic malignant Syndrome) ภายหลังได้รับการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช เพื่อป้องกันการเกิดกลุ่มอาการ NMS และไม่เกิดกลุ่มอาการ NMS ร้อยละ 97.14 มีเพียง 1 ราย หรือ ร้อยละ 2.86 เท่านั้น ที่เกิดกลุ่มอาการ NMS.

Keywords: การคัดกรอง, การปฏิบัติการพยาบาล, กลุ่มอาการนิวโรเล็พติก, neuroleptic malignant syndrome, NMS

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

Code: 200800216

ISSN/ISBN: 0857-4553

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download: