ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ลักษณา พลอยเลื่อมแสง

ชื่อเรื่อง/Title: ประสิทธิผลของการเยี่ยมบ้านร่วมกับ ทำกลุ่ม “เพื่อนช่วยเพื่อน” ต่อพัฒนาการด้านการควบคุมอารมณ์ การเห็นคุณค่าในตนเอง คุณภาพชีวิต และความสุขของผู้สูงอายุ.

แหล่งที่มา/Source: วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, ปีที่ 21, ฉบับที่ 2, (ก.ค.-ธ.ค. 20), หน้า 2.

รายละเอียด / Details:

ผู้สูงอายุคือ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านสุขภาพภาพ จิตใจ อารมณ์ และสังคม จึงควรได้รับความรู้ คำแนะนำและปรึกษาด้านสุขภาพเพื่อให้เตรียมความพร้อมเพื่อจัดการชีวิตบั้นปลายต่อไปได้อย่างมีความสุข การศึกษากึ่งทดลอง เพื่อประเมินประสิทธิผลของการออกเยี่ยมบ้าน จำนวน 4 ครั้งและการทำกลุ่ม “เพื่อนช่วยเพื่อน” เล่าประสบการณ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 2 ครั้ง ในระยะ เวลา 3 เดือนระหว่างมกราคม-มีนาคม 2550 โดยพยาบาลจิตเวช ทำการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุจำนวน 35 คน จาก 2 ตำบลในจังหวัดเชียงใหม่จากการสุ่มแบบง่าย ก่อนและหลังการออกเยี่ยมบ้านและการทำกลุ่มใน 5 ประเด็น คือ การเห็นคุณค่าตนเอง การควบคุมอารมณ์ตนเอง สุขภาพ คุณภาพชีวิต และความสุข ใช้สถิติเชิงอนุมานคือ paired t-test เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลัง ผลการศึกษาพบว่า หลังได้รับความรู้ คำแนะนำปรึกษา ในเรื่องการปฏิบัติตนเอง การดูแลสุขภาพ การรับประทานอาหาร และโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุการปรับตัวได้ดียิ่งขึ้น ภายใน 3 เดือน ด้วยเทคนิคการออกเยี่ยมบ้านและการทำกลุ่ม “เพื่อนช่วยเพื่อน” ร่วมกัน ผู้สูงอายุมีคะแนนการเห็นคุณค่าตนเอง การควบคุมอารมณ์ และความสุขเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.002, p‹0.001, p<0.001 ตามลำดับ) สำหรับการเห็นคุณค่าตนเองพบว่า ผู้สูงอายุมีคะแนนเพิ่มขึ้นจาก 29.9 2.70 เป็น31.0 1.87 คะแนน มีคะแนนการควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ดีมากยิ่งขึ้นจาก 36.9 3.30 เป็น 37.7 2.70 คะแนนและสำหรับคะแนนความสุข ผู้สูงอายุมีคะแนนเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจาก 77.6 12.45 เป็น 80.2 12.4 คะแนน แม้ว่าพัฒนาการทางด้านคุณภาพชีวิต และสุขภาพจะไม่เกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญแต่คะแนนทั้ง 2 ด้านยังพบว่ามีเพิ่มขึ้น จากการศึกษาสรุปได้ว่าออกเยี่ยมบ้านและการทำกลุ่ม “เพื่อนช่วยเพื่อน” ร่วมกันระหว่างผู้สูงอายุเป็นประโยชน์ และมีประสิทธิผลที่ดีต่อการเห็นคุณค่าตนเอง การควบคุมอารมณ์ สุขภาพ คุณภาพชีวิตและ ความสุขของผู้สูงอายุ แม้ว่าความสุขเป็นความรู้สึกในภาพรวมต่อชีวิต แต่สามารถวัดได้ผู้สูงอายุที่เห็นคุณค่าตนของตนเอง สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี จะมีแนวโน้มเป็นผู้ที่มีความสุขในชีวิต บุคลากรทางการแพทย์ควรมีบทบาทในการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้เตรียมความพร้อมของตนเองทั้งในด้านการดูแลตนเองและการจัดการชีวิตต่อไป

Keywords: การออกเยี่ยมบ้าน, การเห็นคุณค่าตนเอง, การควบคุมอารมณ์, คุณภาพชีวิต, ความสุข, ผู้สูงอายุ

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: -

Code: 200800210

ISSN/ISBN: 0857-4553

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download: