ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ชลสินธิ์ ศรีลาศักดิ์

ชื่อเรื่อง/Title: โครงการการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีงบประมาณ 2550.

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการ การป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 8 เรื่อง "เสริมสร้างชีวิต ฝ่าวิกฤตโลกร้อน" วันที่ 7-8 กรกฎาคม 2551 ณ. โรงแรมลิตเติ้ลดั๊ก จังหวัดเชียงใหม่, หน้า 53-54.

รายละเอียด / Details:

อำเภอบางไทรเป็นอำเภอหนึ่งใน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่พบว่า อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงขึ้น โดยในปีงบประมาณ 2549 นั้นมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จจำนวน 7 ราย คิดเป็น 15.5 : แสนประชากร โดยที่กรมสุขภาพจิตกำหนดตัวชี้วัดของอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จไม่เกิน7.1: แสนประชากร มีผู้ที่ฆ่าตัวตายไม่สำเร็จ 23 รายและพบว่าผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จนั้น ป่วยเป็นโรคทางจิตเวช มากที่สุด ดังนั้นเพื่อลดอัตราการฆ่าตัวตายทั้งสำเร็จและไม่สำเร็จ และเพื่อลดอัตราการฆ่าตัวตายซ้ำ ทีมงานด้านสุขภาพจิตอำเภอบางไทรจึงได้จัดทำโครงการ การป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต ขึ้นซึ่งกิจกรรมในโครงการประกอบด้วย การ คัดกรองปัญหาด้านสุขภาพจิตในผู้ป่วยตรวจโรคทั่วไปขณะซักประวัติ มีการประเมินภาวะเครียดในผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้สูงอายุ กรณีมีผู้ป่วยเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรง ประสานงานกับทีมช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรง ในแผนกผู้ป่วยใน กรณีที่มีผู้ป่วยทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย ส่งรับบริการให้คำปรึกษาทุกราย กลุ่มเวชปฏิบัติ มีคัดกรองความเครียดหญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะหากหญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะหากหญิงตั้งครรภ์มีการหย่าร้างและต้องเลี้ยงลูกคนเดียวจะส่งให้ได้บริการให้คำปรึกษาทุกราย งานสุขภาพจิตและยาเสพติด มีการประเมินผู้ป่วยจิตเวชก่อนพบแพทย์ทุกราย มีการให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำญาติในการดูแลผู้ป่วย ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวช โดยเจ้าหน้าที่แต่ละตำบล เดือนละ หนึ่งครั้ง สืบค้นหาผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนเพิ่มเติมเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา ประสานงานเยี่ยมบ้านผู้ป่วยซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย และโรคเรื้อรัง คัดกรองภาวะสุขภาพจิตในนักเรียน จัดอบรมทักษะชีวิต อบรมการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ อบรมการให้คำปรึกษาเบื้องต้น การคัดกรองภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และแกนนำชุมชน จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การส่งเสริมสุขภาพกายและจิตในผู้สูงอายุ คัดกรองภาวะสุขภาพจิตหลังน้ำลดตามนโยบาย และนำผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตมาอบรมเชิงปฏิบัติการ การให้คำปรึกษาครอบครัว. จากการดำเนินการตามกิจกรรมดังกล่าวส่งผลให้อัตราการฆ่าตัวตายทั้งสำเร็จและไม่สำเร็จของ อำเภอบางไทรลดลง นั่นคือ การฆ่าตัวตายสำเร็จ มี 2 ราย คิดเป็นอัตรา 4.4 แสนประชากร ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในปีงบประมาณ 2550 ต้องไม่เกิน 6.8 แสนประชากร และการฆ่าตัวตายไม่สำเร็จ มี 9 รายไม่พบการฆ่าตัวตายซ้ำและใน 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 ยังไม่มีการฆ่าตัวตายสำเร็จ. การทำงานทุกอย่าง จะประสบความสำเร็จได้นั้นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ต้องมีการประสานงานกัน ทั้งภาครัฐและภาคประชาชน รวมถึงองค์กรท้องถิ่นต่างๆและที่สำคัญคือ ความตั้งใจ ความอดทนและไม่ท้อถอยของผู้ปฏิบัติงาน.

Keywords: สุขภาพจิต, การป้องกัน, การฆ่าตัวตาย, โรคทางจิตเวช, ความรุนแรง, ความเครียด, ยาเสพติด, ภาวะซึมเศร้า

ปีที่เผยแพร่/Year: 2551

Address: โรงพยาบาลบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Code: 200800253

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download: