ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ธรณินทร์ กองสุข

ชื่อเรื่อง/Title: การพัฒนาและความเที่ยงตรงของแบบคัดกรองโรคซึมเศร้า ชนิด 2 คำถามในชุมชนไทยอีสาน.

แหล่งที่มา/Source: บทคัดย่อผลงานวิชาการ ในงานประชุมวิชาการ กระทรวงสาธารณสุข 2551,"ดั่งดวงแก้ว ส่องฟ้าสาธารณสุข" วันที่ 28-30 พ.ค. 2551 ณ. โรงแรมปรินซ์ พาเลซ(มหานาค) กรุงเทพฯ, หน้า 255.

รายละเอียด / Details:

ถ้ามีเครื่องมือคัดกรองโรคซึมเศร้าที่มีความเที่ยงตรง และเหมาะสมกับบริบทของผู้ใช้ สะดวก ง่าย จะทำให้การค้นหาและดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพขึ้น ดังนั้นจึงพัฒนาเครื่องมือและศึกษาความเที่ยงตรงของแบบคัดกรองโรคซึมเศร้าชนิด 2 คำถาม ภาษาอีสาน (SQ) ในชุมชนไทยอีสาน. การศึกษาแบ่งเป็น 2 ระยะ คือระยะที่ 1 พัฒนาเครื่องมือคัดกรองโรคซึมเศร้าที่ใช้แสดงความรู้สึกของคนอีสานในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมารวมกับวันที่สัมภาษณ์ แบ่งเป็น 2 คำถาม คำถามแรก เจ้ามีอาการมูนี่บ่ มีแต่อยากไฮ่ และคำถามที่สอง บ่สนใจหยัง บ่อยากเฮ็ดหยัง บ่ม่วนบ่ซืน ระยะที่ 2 ศึกษาความเที่ยงตรง โดยการศึกษาแบบ Diagnostic test study ในกลุ่มประชากรไทยอีสานในชุมชนของจังหวัดยโสธร จำนวน 1002 คน อายุ 18 ปีขึ้นไป แล้วเปรียบเทียบกับการวินิจฉัยโดยจิตแพทย์ที่ใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้างชนิด M.I.N.I. วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติหาค่าความไว ความจำเพาะ ความน่าจะเป็นโรค และค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 95. ผลการศึกษา พบว่ามีความชุกโรคซึมเศร้า ร้อยละ 5.6 แบ่งเป็นโรคซึมเศร้าหลัก (Major Depressive Disorder) ร้อยละ 3.7 คำถามข้อ 1 มีการตอบว่า ใช่ มากกว่าคำถามข้อ 2 ถึง 3 เท่า ความแม่นตรงของ 2Q พบว่า คำถามข้อ 1 อารมณ์เศร้ามีความไวสูงร้อยละ 96.5 (95%CI=95.4-7.6% ความจำเพาะต่ำร้อยละ 45.6 (95%CI42.5-48%) คำถามข้อ 2 มีความไวต่ำร้อยละ 71.9 (95%CI=69.2-74.7%) แต่ความจำเพาะสูงร้อยละ 84.7 (95%CI=81.9-86.4%) เมื่อนำมาประกอบกัน ถ้าตอบคำถามข้อหนึ่งว่า ใช่ จะมีความไวสูงถึงร้อยละ 96.5 (95%CI=95.4-97.6%) แต่ความจำเพาะต่ำร้อยละ 44.6% (95%CI=41.5-47.6% ) ความน่าจะเป็นโรคซึมเศร้า (Positive Likelihood Ratio )เท่ากับ 1.74 เท่า แต่ถ้าทั้งสองข้อตอบว่า ใช่ จะเพิ่มความจำเพาะสูงขึ้นถึงร้อยละ 85.1 (95%CI=82.9-87.3%) ความน่าจะเป็นโรคซึมเศร้า (Positive Likelihood Ratio) เท่ากับ 4.82 เท่าดังนั้นคัดกรองโรคซึมเศร้า 2Q มีความไวสูง สะดวกสำหรับแกนนำชุมชน อสม. และบุคลากรทางสาธารณสุขทุกระดับสามารถนำ.

Keywords: โรคซึมเศร้า, การพัฒนาเครื่องมือ, คัดกรอง, ซึมเศร้า, คัดกรองโรคซึมเศร้า, ความชุก, อารมณ์, อุกอั่ง หงอย เซ็ง หนหวยบ่เป็นตาอยู่

ปีที่เผยแพร่/Year: 2551

Address: โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 200800294

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download: