ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: อังคณา ช่วยคำชู้

ชื่อเรื่อง/Title: ผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มที่เน้นการปรับพฤติกรรมความคิดต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง.

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการ การป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 8 เรื่อง "เสริมสร้างชีวิต ฝ่าวิกฤตโลกร้อน" วันที่ 7-8 กรกฎาคม 2551 ณ. โรงแรมลิตเติ้ลดั๊ก จังหวัดเชียงใหม่, หน้า 159.

รายละเอียด / Details:

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคเรื้อรังก่อนและหลังการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มที่เน้นการปรับพฤติกรรมความคิด กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะซึมเศร้าร่วม จำนวน 20 ราย ซึ่งมารับการรักษาโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลบางปะหัน เครื่องมือที่ใช้ ในการศึกษาคือโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มที่เน้นการปรับพฤติกรรมความคิด แบบประเมินภาวะซึมเศร้าของ Beck เครื่องมือทั้งหมดได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาค่าความเที่ยงแล้ว ค่าความเที่ยงแบบประเมินภาวะซึมเศร้า ได้นำมาหาค่าความเที่ยงโดยใช้สูตร Cronbach’s Alpha Coefficient ได้ ค่าความเที่ยง .94 วิเคราะห์ข้อมูลร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (paired t-test). ผลการศึกษาสรุปดังนี้ คะแนนภาวะซึมเศร้าหลังการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มที่เน้นการปรับพฤติกรรมความคิด ต่ำกว่าก่อนการให้คำปรึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา จากสถิติของโรงพยาบาลบางปะหัน พบว่า ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะซึมเศร้าที่มารับบริการปีงบประมาณ 2549-2550 พบว่าสูงขึ้นคือ 32 และ 51 คน ตามลำดับ ปัญหาสำคัญของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะซึมเศร้าร่วม คือเกิดอาการกลับเป็นซ้ำเพิ่มสูงขึ้นและอัตราการไม่มาตามนัด เป็นร้อยละ 32 และ 23 ตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค และขาดทักษะในการดูแลตนเอง ซึ่งผู้ป่วยมักจะมาด้วยอาการเบื่อหน่าย ไม่สนใจตนเอง คิดว่าตนเองไม่มีคุณค่า ท้อแท้ นอนไม่หลับ ทานอาหารได้น้อย อ่อนเพลียไม่มีแรง เป็นต้น ในฐานะที่เป็นของทีมสหวิชาชีพ ในการดูแลผู้ป่วยและมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้ดีขึ้น การช่วยลดภาวะซึมเศร้าด้วยวิธีการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มที่เน้นการปรับพฤติกรรมความคิด จึงถือเป็นกระบวนการช่วยเหลือให้บุคคลได้รู้เข้าใจและยอมรับปัญหาของตนเอง ตลอดจนสามารถแก้ไขปัญหาและพัฒนาตนเองไปในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสม และการให้คำปรึกษาถือเป็นบทบาทหนึ่งที่สำคัญของพยาบาล ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้รับคำปรึกษารู้จักตนเอง เข้าใจถึงศักยภาพของตนเอง. วัตถุประสงค์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา เป็นผู้ป่วยเรื้อรังที่มีภาวะซึมเศร้าร่วม ที่มารับบริการในคลินิก โรคเรื้อรัง โรงพยาบาลบางปะหัน จำนวน 20 ราย. กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีโรคซึมเศร้าร่วมที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงร่วมกันประเมินพบว่ามีภาวะซึมเศร้า ที่มารับบริการรักษาด้วยอาการเบื่อหน่าย ไม่สนใจตนเอง คิดว่าตนเองไม่มีคุณค่า ท้อแท้ นอนไม่หลับ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2550 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550.

Keywords: สุขภาพจิต, ภาวะซึมเศร้า, การปรับพฤติกรรม, การให้คำปรึกษา

ปีที่เผยแพร่/Year: 2551

Address: โรงพยาบาลบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Code: 200800304

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download: