ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ชินานาฏ จิตตารมย์

ชื่อเรื่อง/Title: รายงานสถิติความรุนแรงในครอบครัวกับความคิดฆ่าตัวตายในผู้ป่วยโรคทางจิตเวชของผู้รับบริการที่ โรงพยาบาลสวนสราญรมย์.

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการ การป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 8 เรื่อง "เสริมสร้างชีวิต ฝ่าวิกฤตโลกร้อน" วันที่ 7-8 กรกฎาคม 2551 ณ. โรงแรมลิตเติ้ลดั๊ก จังหวัดเชียงใหม่, หน้า 168.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล ความรุนแรงในครอบครัวเป็นการทำร้ายร่างกาย ล่วงละเมิดทางเพศ และทำร้ายจิตใจระหว่างสมาชิกที่มีความสัมพันธ์ฉันท์ครอบครัวเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นสามี ภรรยา บุตร หลาน หรือญาติผู้ใหญ่ มีสาเหตุพื้นฐานของปัญหาส่วนหนึ่งมาจากความเชื่อ ประเพณี ทัศนคติต่อคุณค่าและศักดิ์ศรีของปัจเจกบุคคล เป็นต้น ส่งผลให้ผู้หญิงที่ถูกทำร้ายเกิดภาวะภยันตราย ป่วยด้วยโรคทางภาวะจิตใจ อาจมีอาการของโรคซึมเศร้า เบื่อหน่าย ท้อแท้ นอนไม่หลับ หากมีอาการรุนแรงมากอาจหาทางออกด้วยการฆ่าตัวตาย ความคิดฆ่าตัวตายในโรคซึมเศร้าจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน. ,dd>กลุ่มตัวอย่าง ผู้ป่วยที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวช และมีปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤษภาคม 2551 จำนวน 104 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า แบบประเมินความเสี่ยงการฆ่าตัวตาย แบบประเมินความรุนแรงในครอบครัว และแบบเฝ้าระวังภาวะซึมเศร้าและการทำร้ายตนเอง (รายงาน 506 DS). ผลของการศึกษา พบว่าความชุกของความคิดฆ่าตัวตายของผู้ป่วยโรคจิตเวชทั้งหมดในตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง พฤษภาคม 2551 เท่ากับร้อยละ 0.57 ความชุกของความคิดฆ่าตัวตายในผู้ป่วยโรคจิตเวชที่ได้รับความรุนแรงในครอบครัว เท่ากับร้อยละ 64.0 ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 70 ราย คิดเป็นร้อยละ 67.3 มีอายุอยู่ในช่วงผู้ใหญ่ตอนต้น (18-35 ปี) 43 รายคิดเป็นร้อยละ 41.3 ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้า 53 ราย คิดเป็นร้อยละ 48.1 มีภาวะซึมเศร้าในโรคทางจิตเวช 93 ราย คิดเป็นร้อยละ 89.4 มีความคิดฆ่าตัวตาย 48 ราย คิดเป็นร้อยละ 46.0 มีประวัติพยายามฆ่าตัวตาย 47 ราย คิดเป็นร้อยละ 49 รูปแบบของความรุนแรงในครอบครัวที่ผู้ป่วยได้รับ 1). ด้านจิตใจ 52 ราย คิดเป็นร้อยละ 50 2). ด้านร่างกาย 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.69 3). ด้านการทอดทิ้ง 18 ราย คิดเป็นร้อยละ 17.31 4). ด้านร่างกายร่วมกับจิตใจ 14 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.46 5). ด้านร่างกาย จิตใจ และเพศ 12 ราย คิดเป็นร้อยละ 11.54.

Keywords: สุขภาพจิต, โรคทางจิตเวช, ความรุนแรง, ครอบครัว, ฆ่าตัวตาย,

ปีที่เผยแพร่/Year: 2551

Address: แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ กรมสุขภาพจิต

Code: 200800307

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download: