ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ศรชนก สุทาวัน

ชื่อเรื่อง/Title: แนวทางการพัฒนาเครือข่ายการดูแลช่วยเหลือผู้มีปัญหาฆ่าตัวตาย โรงพยาบาลศรีสะเกษ 2551.

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการ การป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 8 เรื่อง "เสริมสร้างชีวิต ฝ่าวิกฤตโลกร้อน" วันที่ 7-8 กรกฎาคม 2551 ณ. โรงแรมลิตเติ้ลดั๊ก จังหวัดเชียงใหม่, หน้า 93.

รายละเอียด / Details:

หน่วยงานบทนำและวัตถุประสงค์ ปัญหาการฆ่าตัวตายในจังหวัดศรีสะเกษ เป็นปัญหาที่ทีมสหวิชาชีพสุขภาพในจังหวัดศรีสะเกษ มีความตื่นตัวในการจัดการมากเป็นอันดับต้นๆ เนื่องจากเป็นปัญหาส่งผลต่อทั้งทางด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม เศรษฐกิจของทั้งผู้ป่วยและครอบครัวหรือบุคคลใกล้ชิดเปรียบเสมือนบาดแผลที่มองไม่เห็น ด้านทีมสหวิชาชีพสุขภาพถึงแม้กระตือรือร้นในการช่วยเหลือแต่ก็ยังขาดความรู้ความเข้าใจและทักษะที่เพียงพอ โรงพยาบาลศรีสะเกษมีระบบการดูแลช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาภาวะซึมเศร้าและพยายามฆ่าตัวตายที่เป็นรูปธรรมชัดเจน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 บุคลากร โรงพยาบาลให้ความสำคัญกับการดูแลทางสังคมจิตใจควบคู่กับการดูแลด้านร่างกาย เห็นได้จากมีการส่งต่อผู้ป่วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายซึ่งถือว่าเป็นเกณฑ์ที่ต้องส่งปรึกษากลุ่มงานจิตเวชอย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ตามในช่วงปี 2550-2551 โรงพยาบาลศรีสะเกษประสบปัญหาบางอย่างได้แก่ มีเหตุการณ์ผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลด้วยอาการประสาทหลอนทั้งจากโรคจิตและภาวะขาดเหล้าพยายามฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดตึกโรงพยาบาลศรีสะเกษ เกิดขึ้นหลายครั้งทำให้ผู้ให้บริการเกิดภาวะเครียดในการดูแลผู้ป่วย และเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลของผู้พยายามฆ่าตัวตายหรือฆ่าตัวตายสำเร็จที่มารับบริการในโรงพยาบาลศรีสะเกษ พบว่า เป็นปัญหาจากจิตเวชฉุกเฉินได้แก่ โรคจิต ภาวะซึมเศร้าและปัญหาดื่มสุราเป็นปัจจัยร่วมที่พบมากเป็นอันดับต้นๆรวมทั้งสถิติผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตายที่ถูกส่งมาจากโรงพยาบาลชุมชนมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องสาเหตุส่วนหนึ่ง คือ แพทย์ใช้ทุนที่ไปปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนยังไม่มั่นใจในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน สถิติผู้ป่วยทั้งที่พยายามฆ่าตัวตายและฆ่าตัวตายสำเร็จในจังหวัดศรีสะเกษ ก็ยังไม่ลดลงถึงแม้ในภาพรวมยังไม่สูงตามเกณฑ์ของประเทศก็ตามโรงพยาบาลศรีสะเกษในบทบาทของโรงพยาบาลทั่วไปของจังหวัดศรีสะเกษ จึงได้จัดทำการศึกษาแนวทางการพัฒนาเครือข่ายการดูแลช่วยเหลือผู้มีปัญหาการฆ่าตัวตาย 2551 ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาศักยภาพของทีมสหวิชาชีพในจังหวัดศรีสะเกษให้สามารถประเมินคัดกรองและส่งต่อผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉินได้ 2) พัฒนาการดำเนินงานในระบบเครือข่ายเพื่อการช่วยเหลือและป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในชุมชนของทีมสหวิชาชีพในจังหวัดศรีสะเกษ.

Keywords: ฆ่าตัวตาย, สุขภาพจิต, การฆ่าตัวตาย, ภาวะซึมเศร้า, ทักษะ, โรคจิต, สุรา

ปีที่เผยแพร่/Year: 2551

Address: กลุ่มงานจิตเวช และทีมสหวิชาชีพอายุรกรรม โรงพยาบาลศรีสะเกษ.

Code: 200800259

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download: