ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: วิภาสินี วะเศษสร้อย

ชื่อเรื่อง/Title: แนวทางการป้องกันและช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย โดยเครือข่ายองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ยุทธศาสตร์ที่ 1.

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการ การป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 8 เรื่อง "เสริมสร้างชีวิต ฝ่าวิกฤตโลกร้อน" วันที่ 7-8 กรกฎาคม 2551 ณ. โรงแรมลิตเติ้ลดั๊ก จังหวัดเชียงใหม่, หน้า 75.

รายละเอียด / Details:

ปัญหาการฆ่าตัวตายเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขของอำเภอนาหว้า ในปี 2550 พบว่ามีสถานการณ์รุนแรงเกิดขึ้น อัตราการทำร้ายตนเองและฆ่าตัวตายสำเร็จสูงกว่าปีที่ผ่านมา พบอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จคิดเป็น 10.18 ต่อประชากรแสนคน จากเป้าหมายไม่เกิน 6.5 ต่อประชากรแสนคนในปี 2550 ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานตามแนวทางการป้องกันและช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย โดยเครือข่ายองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ใช้แนวคิดชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหาฆ่าตัวตาย โดยผ่านแกนนำสุขภาพจิตชุมชนที่ผ่านการอบรม ความรู้เรื่องปัญหาสุขภาพจิต การดูแลตนเองและผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตในชุมชน ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าและพยายามฆ่าตัวตายในชุมชน สามารถให้การปรึกษาเบื้องต้นได้ รวมถึงการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าระดับตำบล พื้นที่ดำเนินการคือ องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 6 แห่ง และเทศบาล จำนวน 1 แห่ง อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม กลุ่มเป้าหมาย เป็นอาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 56 คน นายกองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จำนวน 7 คน ปลัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จำนวน 7 คน รวม 70 คน วิธีการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ที่ 1 เริ่มจากการประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องในระดับอำเภอ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในระดับปฐมภูมิ องค์การบริหารส่วนตำบลทุกแห่ง เพื่อสร้างความตระหนักและทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานระดับอำเภอ จัดอบรมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในระดับสถานีอนามัย 10 แห่ง จัดอบรมกลุ่มเป้าหมาย เป็นแกนนำสุขภาพจิต จำนวน 70 คน จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าระดับตำบล เน้นการติดตามผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าและพยายามฆ่าตัวตายในชุมชนเพื่อเข้ารับการรักษา คัดกรองผู้ที่มีภาวะเสี่ยงหรือผู้ป่วยที่มีประวัติการพยายามฆ่าตัวตาย โดยใช้แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าและแบบคัดกรองความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย (กรมสุขภาพจิต) จากการประเมินผลดำเนินงาน ตามยุทธศาสตร์ที่ 1 แกนนำสุขภาพจิตมีความรู้เรื่อง ภาวะซึมเศร้าและภาวะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ให้การปรึกษาเบื้องต้นได้ เกิดเครือข่ายภาคีในการดำเนินงาน การช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าและผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในชุมชน มีการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือ ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าตำบล ในปี 2551 ไม่มีผู้ป่วยฆ่าตัวตายสำเร็จมีผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตายที่ขึ้นทะเบียนรับการรักษาด้วยยาต้านเศร้า จำนวน 6 ราย ยุทธศาสตร์ที่ 2 อยู่ระหว่างดำเนินการ.

Keywords: ฆ่าตัวตาย, สุขภาพจิต, ภาวะซึมเศร้า, การฆ่าตัวตาย, การป้องกัน

ปีที่เผยแพร่/Year: 2551

Address: งานสุขภาพจิตและจิตเวช โรงพยาบาลนาหว้า จังหวัดนครพนม.

Code: 200800260

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download: